Princess Wimon Nakanaphisi (พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าวิมลนาคนพีสี)(2 October 1889 – 20 February 1892)

Yesterday, a reader and a page follower asked if I could help enhance a portrait of Princess Wimon Nakanaphisi (พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าวิมลนาคนพีสี), the daughter of Princess Dara Rasmi (เจ้าดารารัศมี) and King Chulalongkorn (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, รัชกาลที่ 5), as he wanted to use this portrait as a prototype for a copper repoussé artwork. So, I created a special image according to his request.

Princess Wimon Nakanaphisi (พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าวิมลนาคนพีสี) (pronounced Wi-mon Na-kana-phi-si) was born on Wednesday, 2 October 1889 (2 ตุลาคม พ.ศ. 2432), the 8th day of the waxing moon in the 11th month of the Year of the Ox. She was the 73rd child of King Chulalongkorn (Rama V) and was born to Princess Dara Rasmi (เจ้าดารารัศมี), Royal Consort.

The portrait of Princess Wimon Nakanaphisi and her mother was possibly sent to Chiang Mai three to four years after her birth, as she appears very young in the photograph, likely under five years old at the time.

Additionally, there is an interesting article on Silpa Wattanatham (ศิลปวัฒนธรรม) about the event when Princess Dara Rasmi (เจ้าดารารัศมี) sent the portrait of herself and her daughter, Princess Wimon Nakanaphisi (พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าวิมลนาคนพีสี), to Chiang Mai, which deeply moved Prince Ruler of Chiang Mai, Inthawichayanon (พระเจ้าอินทวิชยานนท์), her father. He arranged a grand procession to receive the portrait from the residence of Prince Sonabandit (พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต), the special commissioner in Chiang Mai.

The records of Prince Sonabandit (พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต) state that Prince Ruler Inthawichayanon (พระเจ้าอินทวิชยานนท์), upon seeing the portrait, could not hold back his tears. He remarked that the eyebrows of Princess Wimon Nakanaphisi (พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าวิมลนาคนพีสี) strongly resembled those of Princess Consort Thip Kasorn (เจ้าแม่ทิพเกสร), the mother of Princess Dara Rasmi (เจ้าดารารัศมี). Other northern royals who attended were also filled with joy and admiration for the portrait.

The procession was conducted in a grand and elaborate manner, with the Khum Chao Luang Nakhon Chiang Mai (คุ้มเจ้าหลวงนครเชียงใหม่) beautifully decorated. Prince Ruler Inthawichayanon (พระเจ้าอินทวิชยานนท์), dressed in a royal robe and crown, personally ascended the ceremonial platform to receive the portrait, embracing it with deep joy. A Buddhist prayer ceremony was then held at the royal residence.

In the evening, Prince Ruler Inthawichayanon (พระเจ้าอินทวิชยานนท์) hosted a lavish banquet, inviting foreign consuls and expatriates in Chiang Mai to join. The celebrations included traditional boxing, theatre performances, gambling games, and the scattering of Kalpapruek fruits (symbolic donations). The grand festivities lasted for four days and four nights.

Read the full article here:
🔗 https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_39677

เมื่อวานนี้ มีผู้อ่านและผู้ติดตามเพจท่านหนึ่งสอบถามว่าผมสามารถช่วยปรับแต่งพระรูปของ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าวิมลนาคนพีสี พระราชธิดาในเจ้าดารารัศมี ได้หรือไม่ เนื่องจากเขาต้องการใช้พระรูปนี้เป็นต้นแบบสำหรับงานศิลปะประเภทสลักดุนโลหะทองแดง ผมจึงจัดทำภาพพิเศษให้ตามคำขอ

พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าวิมลนาคนพีสี (วิ-มน-นาก-นะ-พี-สี) ประสูติเมื่อวันพุธ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2432 เป็นพระราชบุตรีองค์ที่ 73 ในรัชกาลที่ 5 ประสูติแต่ เจ้าดารารัศมี พระราชชายา

พระรูปของ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าวิมลนาคนพีสี และเจ้าดารารัศมี ถูกส่งไปเชียงใหม่ ประมาณ 3-4 ปีหลังจากประสูติเนื่องจากในพระรูปพระองค์ยังทรงพระเยาว์มาก คาดว่าน่าจะมีพระชันษาไม่เกิน 5 ปี

นอกจากนี้ มีบทความที่น่าสนใจในเว็บไซต์ ศิลปวัฒนธรรม เกี่ยวกับเหตุการณ์เมื่อเจ้าดารารัศมีได้ส่งพระรูปของพระองค์เองและพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าวิมลนาคนพีสี ขึ้นไปยังเชียงใหม่ ซึ่งทำให้ พระเจ้าอินทวิชยานนท์ ทรงปลื้มปีติอย่างยิ่ง พระองค์โปรดให้มีการจัดขบวนแห่อย่างยิ่งใหญ่ เพื่อรับพระรูปจากจวนของ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต ข้าหลวงพิเศษประจำเชียงใหม่

บันทึกของพระองค์เจ้าโสณบัณฑิตระบุว่า พระเจ้าอินทวิชยานนท์ทอดพระเนตรพระรูปแล้วถึงกับกลั้นน้ำพระเนตรไม่อยู่ ตรัสว่าพระขนงของพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าวิมลนาคนพีสี คล้ายกับ เจ้าแม่ทิพเกสร (พระมารดาของเจ้าดารารัศมี) อย่างมาก ส่วนเจ้านายฝ่ายเหนือที่มาร่วมชมพระรูปต่างก็แสดงความปลื้มปีติยินดี

ขบวนแห่ถูกจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ บริเวณคุ้มเจ้าหลวงนครเชียงใหม่ประดับตกแต่งอย่างงดงาม พระเจ้าอินทวิชยานนท์ทรงฉลองพระองค์ครุยและทรงชฎา เสด็จขึ้นเกยรับพระรูปด้วยพระองค์เอง พร้อมทั้งทรงกอดพระรูปด้วยความปลื้มปิติ จากนั้นจึงโปรดให้มีการสวดเจริญพระพุทธมนต์ที่คุ้มหลวง

ในช่วงค่ำ พระเจ้าอินทวิชยานนท์ยังทรงจัดงานเลี้ยงใหญ่ เชิญบรรดากงสุลและชาวต่างชาติที่พำนักในเชียงใหม่มาร่วมงาน รวมถึงมีการละเล่นต่าง ๆ เช่น มวย ละคร บ่อนป๊อก และการโปรยผลกัลปพฤกษ์หรือโปรยทาน งานเฉลิมฉลองดำเนินไปถึง 4 วัน 4 คืน

สามารถอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่:
🔗 https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_39677

#aifashionlab #AI #aiartist #aiart #aifashion #aifashiondesign #aifashionstyling #aifashiondesigner #fashion #fashionhistory #historyoffashion #fashionstyling #fashionphotography #digitalfashion #digitalfashiondesign #digitalcostumedesign #digitaldesign #digitalaiart #ThaiFashionHistory #ThaiFashionAI #flux #fluxlora

Previous
Previous

Princess Bahurada Manimaya (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิงพาหุรัตมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์)(19 December 1878 – 27 August 1887)

Next
Next

Fashion of the Kaleng Men and Phu Tai Women from Monthon Udon during the Reign of King Rama V (1907)