Princess Bahurada Manimaya (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิงพาหุรัตมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์)(19 December 1878 – 27 August 1887)

This AI photo collection was created upon request from a fan page that deeply respects and honours the legacy of Princess Bahurada Manimaya (Thai: พาหุรัตมณีมัย; RTGS: Phahuratmanimai) (19 December 1878 – 27 August 1887), a princess of Siam and a royal daughter of King Chulalongkorn (Rama V of Siam). I enhanced and refined the original black-and-white photograph to restore its details more clearly.

Princess Bahurada Manimaya was the eldest daughter of King Chulalongkorn and was born to Queen Saovabha Phongsri, the Queen Mother on 19 December 1878. At birth, she had not yet received a formal royal title, and therefore, the courtiers referred to her as "Princess Ying Yai" (ทูลกระหม่อมหญิงใหญ่) meaning "Elder Princess," as she was the first daughter of Queen Saovabha Phongsri.

The names of the royal children of King Chulalongkorn born to Queen Saovabha Phongsri were carefully chosen to be phonetically harmonious and meaningful. Many of these names were inspired by royal weapons and symbols of power, reflecting the sovereignty and strength of the monarchy. These included:

  1. Bahurada Manimaya, Princess Debnariratana (พาหุรัตมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์)

    • Bahurada Manimaya (พาหุรัตมณีมัย) means "Armlet adorned with jewels."

  2. King Vajiravudh (Rama VI) (มหาวชิราวุธ)

    • Maha Vajiravudh (มหาวชิราวุธ) means "Lightning Bolt," referring to the weapon of Indra in Hindu mythology.

  3. Princess Tripetcharut Dhamrong (ตรีเพ็ชรุตม์ธำรง)

    • Tripetcharut Dhamrong (ตรีเพ็ชรุตม์ธำรง) means "One who wields a trident as a weapon."

  4. Prince Chakrabongse Bhuvanath, the Prince of Phitsanulok (จักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ)

    • Chakrabongse Bhuvanath (จักรพงษ์ภูวนาถ) means "Descendant of those who wield the discus as a weapon," referring to Lord Vishnu.

  5. Princess Siriraj Kakudhabhand (ศิริราชกกุธภัณฑ์)

    • Siriraj Kakudhabhand (ศิริราชกกุธภัณฑ์) means "A sacred and auspicious royal regalia."

  6. Prince Asdang Dejavudh, the Prince of Nakhon Ratchasima (อัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา)

    • Asdang Dejavudh (อัษฎางค์เดชาวุธ) means "The eight divine weapons."

  7. Prince Chudadhuj Dharadilok, the Prince of Phetchabun (จุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย)

    • Chudadhuj Dharadilok (จุฑาธุชธราดิลก) means "The crest of a royal crown."

  8. King Prajadhipok (Rama VII) (ประชาธิปกศักดิเดชน์)

    • Prajadhipok Sakkadatej (ประชาธิปกศักดิเดชน์) means "A great ruler, possessing the divine bow,"associated with Lord Brahma.

These royal names symbolised the might and grandeur of the monarchy in accordance with ancient royal traditions.

In 1887, Princess Bahurada Manimaya accompanied King Chulalongkorn on a visit to Phetchaburi, but shortly after, she fell seriously ill. Her condition did not improve upon returning to Bangkok, and she suffered from loss of appetite, extreme weight loss, fever, respiratory issues, and glandular swelling. Despite receiving the best medical attention available at the time, her health continued to deteriorate. She passed away on 27 August 1887 at 12:42 PM, at the tender age of 8 years, 8 months, and 11 days. Her untimely passing was a profound loss to the Chakri dynasty.

A year later, in 1888, King Chulalongkorn posthumously bestowed upon her the full royal title of Her Royal Highness Princess Bahurada Manimaya, Phraiphaphan Pichit, Narissara Rajakumari (สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย ประไพพรรณพิจิตร์ นริศรราชกุมารี). Later, on 9 November 1915, during the reign of King Vajiravudh (Rama VI),her remains were elevated to the status of a royal princess of the highest rank under the title Her Royal Highness Princess Bahurada Manimaya, the Princess of Debnariratana (สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์).

In memory of his beloved daughter, Queen Saovabha Phongsri donated her personal wealth to fund the construction of a road in her honour. King Chulalongkorn subsequently named it "Bahurada Road" (ถนนพาหุรัด), also spelled Phahurat Road or Pahurat Road. Today, Phahurat Road is a major commercial district in Bangkok, known for its textile markets, sewing materials, traditional Thai and Chinese clothing, and especially Indian saris and garments.The road is also home to a large Indian community, preserving their traditional way of life. Due to this unique cultural presence, Phahurat has earned the nickname "Little India" of Thailand.

Significant landmarks in the Phahurat district include Sri Guru Singh Sabha (วัดคุรุดวาราศรีคุรุสิงห์สภา), Thailand’s first Sikh temple, as well as The Old Siam Plaza and China World Department Store (formerly Central Wang Burapha). The area remains a bustling trade hub, brimming with diverse cultural influences.

Though Princess Bahurada Manimaya lived only eight short years, she was beloved by the royal family and cherished by all who knew her. Today, her legacy endures through the name of Phahurat Road, an enduring tribute to a princess whose memory continues to shape Bangkok’s rich cultural heritage.

คอลเลกชันภาพ AI นี้จัดทำขึ้นตามคำขอของแฟนเพจผู้ให้ความเคารพและเชิดชูพระประวัติของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผมจึงนำภาพถ่ายขาวดำที่ได้รับมาปรับแต่งและเสริมรายละเอียดให้ชัดเจนขึ้น

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ ทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2421 เมื่อแรกประสูติยังมิได้รับพระราชทานพระนาม ชาววังจึงขนานพระนามว่า "ทูลกระหม่อมหญิงใหญ่"เนื่องจากทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์แรกของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ

พระนามของพระราชโอรสและพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ล้วนมีความไพเราะและคล้องจองกัน ทั้งยังมีความหมายเกี่ยวข้องกับศาสตราวุธอันเป็นเครื่องหมายแห่งอำนาจของพระมหากษัตริย์ ได้แก่

  1. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิงพาหุรัตมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์
    พาหุรัดมณีมัย แปลว่า กำไลรัดต้นแขน

  2. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ)
    มหาวชิราวุธ แปลว่า สายฟ้า (อาวุธของพระอินทร์)

  3. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง
    ตรีเพ็ชรุตม์ธำรง แปลว่า ผู้มีตรีเป็นอาวุธ

  4. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
    จักรพงษ์ภูวนาถ แปลว่า ผู้สืบเชื้อสายจากผู้มีจักรเป็นอาวุธ (พระนารายณ์)

  5. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์
    ศิริราชกกุธภัณฑ์ แปลว่า สิ่งของอันเป็นเครื่องหมายและสิริมงคลแห่งความเป็นพระราชา

  6. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา
    อัษฎางค์เดชาวุธ แปลว่า อาวุธทั้ง 8

  7. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย
    จุฑาธุชธราดิลก แปลว่า ธงยอดมงกุฎ

  8. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์)
    ประชาธิปกศักดิเดชน์ แปลว่า ผู้เป็นใหญ่และมีพระแสงศรเป็นอาวุธ (พระพรหม)

พระนามเหล่านี้สะท้อนถึงคติความเชื่อเกี่ยวกับอำนาจและบารมีของพระมหากษัตริย์ตามโบราณราชประเพณี

ในปี พ.ศ. 2430 เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัยทรงตามเสด็จพระราชบิดาไปยังเมืองเพชรบุรี แต่หลังจากนั้นไม่นานก็ทรงพระประชวร พระอาการมิได้ทุเลาหลังเสด็จกลับพระนคร ทรงมีพระอาการเบื่อพระกระยาหาร พระกายซูบผอม มีพระบังคนปนเสมหะและมีพระยอดขึ้นที่พระศอและพระกรรณ แม้จะทรงได้รับการถวายการรักษาอย่างเต็มที่ แต่พระอาการกลับทรุดลง จนเสด็จสวรรคตในวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2430 เวลา 12:42 น. สิริพระชันษาเพียง 8 ปี 8 เดือน 11 วัน นับเป็นความสูญเสียอันใหญ่หลวงของพระราชวงศ์จักรี

หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย ประไพพรรณพิจิตร์ นริศรราชกุมารี ต่อมาในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการสถาปนาพระอัฐิขึ้นเป็น เจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายในที่ “กรมพระ” ทรงพระนามใหม่ว่า สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย ประไพพรรณพิจิตร์ นริศรราชกุมารี กรมพระเทพนารีรัตน์

ด้วยความรักและอาลัยต่อพระราชธิดาอันเป็นที่รัก สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถจึงทรงนำทรัพย์สินส่วนพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย มาสร้างเป็นถนนเพื่อเป็นอนุสรณ์ และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า ถนนพาหุรัด ถนนสายนี้ตั้งอยู่ในแขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โดยเริ่มจาก ถนนบ้านหม้อ (สี่แยกบ้านหม้อ) ไปทางทิศตะวันออก ตัดกับ ถนนตรีเพชร (สี่แยกพาหุรัด) จนถึง ถนนจักรเพชร ถนนพาหุรัดจึงถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่แสดงถึงพระราชหฤทัยแห่งความรักของสมเด็จพระบรมราชชนนีที่ทรงมีต่อพระราชธิดา

ปัจจุบัน ถนนพาหุรัดกลายเป็นย่านการค้าที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์รวมของสินค้ามากมาย ทั้งผ้า อุปกรณ์ตัดเย็บ เสื้อผ้าสำเร็จรูปจากหลายเชื้อชาติ ไม่ว่าจะเป็นชุดไทย ชุดนาฏศิลป์ ชุดจีน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส่าหรีและเครื่องแต่งกายจากอินเดีย ถนนพาหุรัดยังเป็นที่ตั้งของ ชุมชนชาวอินเดียในกรุงเทพฯ ซึ่งยังคงดำเนินวิถีชีวิตแบบภารตะ ทำให้ถนนแห่งนี้ได้รับสมญานามว่า "ลิตเติ้ล อินเดีย" แห่งประเทศไทย

บริเวณโดยรอบถนนพาหุรัดยังมีสถานที่สำคัญ เช่น วัดคุรุดวาราศรีคุรุสิงห์สภา (วัดซิกข์แห่งแรกของไทย) ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางศาสนาของชาวซิกข์ในประเทศไทย อีกทั้งยังมีห้างดิโอลด์สยามพลาซ่า ห้างไชน่าเวิลด์ (เดิมคือห้างเซ็นทรัลวังบูรพา) และแหล่งการค้าอีกมากมาย ทำให้พาหุรัดเป็นย่านที่คึกคักและเต็มไปด้วยวัฒนธรรมที่หลากหลาย

แม้จะทรงดำรงพระชนม์อยู่เพียง 8 พรรษา แต่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย ทรงมีพระจริยวัตรเรียบร้อย สมกับเป็นขัตติยราชกุมารี ทรงเป็นที่รักของพระบรมราชวงศ์และเป็นที่เสน่หาของพระประยูรญาติทั้งปวง พระองค์ยังคงอยู่ในความทรงจำของประชาชน และพระเกียรติคุณของพระองค์ยังปรากฏผ่านชื่อถนนพาหุรัดที่เป็นศูนย์กลางการค้าและวัฒนธรรมของไทยมาจนถึงทุกวันนี้

#aifashionlab #AI #aiartist #aiart #aifashion #aifashiondesign #aifashionstyling #aifashiondesigner #fashion #fashionhistory #historyoffashion #fashionstyling #fashionphotography #digitalfashion #digitalfashiondesign #digitalcostumedesign #digitaldesign #digitalaiart #ThaiFashionHistory #ThaiFashionAI #flux #fluxlora

Previous
Previous

Fashion of Queen Rambhai Barni in Exile: A Reflection of 1920s and 1930s Elegance

Next
Next

Princess Wimon Nakanaphisi (พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าวิมลนาคนพีสี)(2 October 1889 – 20 February 1892)