Long Hair and Modernity: The Transformation of Siamese Women’s Fashion During the Reign of King Vajiravudh

The AI-generated images illustrate this transformation vividly, capturing the elegance of soft waves and sophisticated updos that became popular during the reign of King Vajiravudh. While influenced by Edwardian styles, these hairstyles were adapted to Siamese tastes, often incorporating gold accessories or floral ornaments.

Long Hair and Modernity: The Transformation of Siamese Women’s Fashion During the Reign of King Vajiravudh

During the reign of King Vajiravudh (Rama VI, 1910–1925), the fashion of Siamese aristocratic women evolved alongside global trends. Late Edwardian styles gradually merged with the Teens fashion era (1911–1919), which embraced simpler, more fluid silhouettes. While Western tailoring remained influential, Thai women adapted elements to suit their traditions, incorporating draped fabrics in place of the traditional shoulder sash (sabais) while continuing to wear jong kraben and elegant jewellery that reflected their noble status.

Western women’s fashion at the time transitioned from high-necked blouses to wide-necked, lace-adorned designs with three-quarter sleeves, offering both comfort and sophistication. These garments, known as lingerie blouses, were often made from muslin or delicately embroidered cotton. Their airy and graceful aesthetic gained popularity worldwide, including in Siam, where women integrated them with traditional attire. Hairstyles also reflected Western influences, with women favouring meticulously styled updos. A common look featured soft curls framing the face, leading to a high chignon or leaving the ends gently curled at the back. Some variations incorporated pearl headbands, jewelled hairpins, or ribbons, enhancing their regal and elegant appearance.

This period marked a major transition from the long-standing tradition of short hair among Siamese women. Throughout the Thonburi and early Rattanakosin periods, women typically wore their hair short in styles such as phom pik (ผมปีก) and dok kratun (ดอกกระทุ่ม), where the hair was uniformly cropped all around. However, as Siam embraced modernity in the early 20th century, younger aristocratic and royal women began to favour long hairstyles, inspired by Western fashion. Soft curls and gentle waves replaced the previously standard short cuts, becoming the new ideal.

The AI-generated images illustrate this transformation vividly, capturing the elegance of soft waves and sophisticated updos that became popular during the reign of King Vajiravudh. While influenced by Edwardian styles, these hairstyles were adapted to Siamese tastes, often incorporating gold accessories or floral ornaments. This fusion of Western trends with local refinement created a look that was both luxurious and graceful, perfectly complementing lace blouses and exquisite jewellery of the era.

ผมยาวกับความทันสมัย: การปรับเปลี่ยนแฟชั่นสตรีสยามในสมัยรัชกาลที่ ๖

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2453–2468) แฟชั่นของสตรีชั้นสูงในสยามเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลก สไตล์เอ็ดเวิร์ดเดียนตอนปลายค่อย ๆ ผสมผสานเข้ากับแฟชั่นยุค Teens (พ.ศ. 2454-2462) ซึ่งเน้นความเรียบง่ายและพลิ้วไหวมากขึ้น แม้จะยังคงรูปแบบการตัดเย็บแบบตะวันตก แต่สตรีไทยก็ได้นำผ้ามาพับจับเดรปแทนการใช้สไบคาดเฉียง พร้อมทั้งยังคงการสวม โจงกระเบน และเครื่องประดับที่สะท้อนเอกลักษณ์ของชนชั้นสูง

แฟชั่นของสตรีตะวันตกเปลี่ยนจากเสื้อคอสูงเป็นเสื้อคอกว้างประดับลูกไม้และแขนสามส่วน ซึ่งให้ความสบายและความสง่างามมากขึ้น เสื้อประเภทนี้เรียกว่า lingerie blouse มักทำจากผ้ามัสลินหรือผ้าฝ้ายที่ปักลวดลายอย่างประณีต ความโปร่งเบาและอ่อนช้อยของเสื้อเหล่านี้ได้รับความนิยมไปทั่วโลก รวมถึงในสยาม ซึ่งสตรีได้นำมาประยุกต์ให้เข้ากับเครื่องแต่งกายแบบดั้งเดิม ทรงผมก็ได้รับอิทธิพลจากแฟชั่นตะวันตก โดยสตรีนิยมเกล้าผมอย่างประณีต ทรงที่พบได้บ่อยคือการดัดลอนอ่อน ๆ บริเวณรอบใบหน้า แล้วเก็บเป็นเกล้าผมสูงหรือปล่อยชายผมพร้อมทั้งดัดลอนอ่อนๆที่ด้านหลัง บางแบบตกแต่งเพิ่มเติมด้วยแถบคาดมุก ปิ่นปัก หรือริบบิ้น เพื่อเสริมลุคให้ดูสูงศักดิ์และสง่างาม

ยุคนี้ยังเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านจากธรรมเนียมการไว้ผมสั้นที่มีมายาวนานกว่าศตวรรษของสตรีสยาม ตลอดช่วงกรุงธนบุรีและต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้หญิงมักตัดผมสั้นแบบ ผมปีก และทรงดอกกระทุ่ม ซึ่งเป็นทรงที่ตัดสั้นเสมอกันโดยรอบ แต่เมื่อเข้าสู่ต้นศตวรรษที่ 20 ขณะที่สยามเปิดรับความทันสมัยตามกระแสโลก สตรีชั้นสูงและฝ่ายในรุ่นใหม่เริ่มนิยมไว้ผมยาวมากขึ้น ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากแฟชั่นตะวันตก ทรงผมดัดลอนอ่อนและลอนคลื่นอันอ่อนช้อยจึงกลายเป็นที่นิยม แทนที่สไตล์ผมสั้นแบบเดิม

ภาพที่สร้างขึ้นด้วย AI แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างชัดเจน ถ่ายทอดความงดงามของลอนคลื่นและการเกล้าผมที่ได้รับความนิยมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงผมเหล่านี้แม้จะได้รับอิทธิพลจากสไตล์เอ็ดเวิร์ดเดียน แต่ก็ได้รับการปรับให้เข้ากับรสนิยมของสตรีสยาม โดยบางครั้งมีการตกแต่งด้วยเครื่องประดับทองหรือดอกไม้ สร้างสไตล์ที่หรูหราและสง่างาม ซึ่งเข้ากันได้ดีกับเสื้อลูกไม้และเครื่องประดับอันวิจิตรของยุคนั้น

#aifashionlab #AI #aiartist #aiart #aifashion #aifashiondesign #aifashionstyling #aifashiondesigner #fashion #fashionhistory #historyoffashion #fashionstyling #fashionphotography #digitalfashion #digitalfashiondesign #digitalcostumedesign #digitaldesign #digitalaiart  #LoRA  #AImodeltraining #ThaiFashionHistory #AIThaiFashion

Previous
Previous

Long Hair and Pha-Sin: Siamese Women’s Fashion During the Mid Reign of King Vajiravudh (1915–1920)

Next
Next

Siamese Women's Fashion in the 1910s: A Fusion of Western Style and Thai Identity