The Influence of Victorian Fashion on Siam and Lanna Women during the Reign of King Rama V and the Ancient and Auspicious Order of the Nine Gems

The most prestigious element of the men's attire is the Ancient and Auspicious Order of the Nine Gems (เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์). Established by King Mongkut (Rama IV) in 1861, this chivalric order was conferred upon members of the Thai royal family, distinguished high-ranking officials, and Buddhist laymen who had demonstrated exceptional service to the kingdom. It is regarded as the highest order granted to Thai citizens, as the two superior orders—the Order of the Royal House of Chakri and the Order of Chula Chom Klao—are reserved exclusively for royalty and foreign heads of state.

The Influence of Victorian Fashion on Siam and Lanna Women during the Reign of King Rama V and the Ancient and Auspicious Order of the Nine Gems

During the reign of King Chulalongkorn (Rama V) (1868–1910), Western fashion, particularly Victorian fashion, had a significant influence on the attire of the Siamese elite. One of the most notable elements adopted was the leg-of-mutton sleeves, a symbol of modernity and elegance. This reimagined portrayal presents the attire of a noblewoman from Chiang Mai or Lanna, possibly the wife of a recipient of the Ancient and Auspicious Order of the Nine Gems(เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์). While the patterns and colours of the fabrics depicted here are designed for aesthetic representation, they reflect the exquisite quality of high-ranking textiles of that era.

Lanna Hairstyle and Accessories

The hairstyle worn by the noblewomen in these depictions was first introduced by Princess Consort Dara Rasmi, who drew inspiration from Japanese hairstyles. This high bun with a low chignon enhanced a refined and dignified appearance. This hairstyle was unique to Lanna women, distinguishing them from Siamese women of the central region, who typically wore their hair short in the dok kratumb style (ทรงดอกกระทุ่ม). The Lanna hairstyle reflected social status and was reserved for significant occasions. It was often adorned with golden tiaras or elaborate hairpins, symbolising the wearer's noble standing.

The Tubular Skirt (Pha-sin) and Lanna Textile Heritage

The lower garment consists of the pha-sin (ผ้าซิ่น), a key element of Lanna and Northern Thai attire, which differs from the jong-kraben (โจงกระเบน) commonly worn in the royal court of Siam. The pha-sin is traditionally handwoven with great intricacy, often made from fine silk or cotton, and features supplementary weft patterns (teen jok) at the hem. For noblewomen, the pha-sin often included gold or silver-threaded designs, making it a signature textile of the region. While the pha-sin depicted in these images is an imaginative representation, it reflects the elegance and social status of high-ranking women in the late 19th century.

Siamese Noblemen’s Military Uniform

The men in these images are dressed in Siamese military court uniforms, which were heavily influenced by European military dress of the 19th century. As part of King Rama V’s administrative and military reforms, Siamese officials and courtiers adopted Western-style attire to align with international diplomatic standards. The high-collared white military jacket, adorned with gold embroidery on the collar and cuffs, closely resembles the formal dress uniforms of the British and French courts. The gold, green, and yellow sash, draped diagonally across the chest, indicates a high-ranking position in the military or royal administration. The trousers, featuring gold side stripes, were worn with polished leather riding boots, reflecting European cavalry influence. A ceremonial sword, an essential part of formal court attire, signifies authority and noble rank within the kingdom.

The Ancient and Auspicious Order of the Nine Gems

The most prestigious element of the men's attire is the Ancient and Auspicious Order of the Nine Gems (เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์). Established by King Mongkut (Rama IV) in 1861, this chivalric order was conferred upon members of the Thai royal family, distinguished high-ranking officials, and Buddhist laymen who had demonstrated exceptional service to the kingdom. It is regarded as the highest order granted to Thai citizens, as the two superior orders—the Order of the Royal House of Chakri and the Order of Chula Chom Klao—are reserved exclusively for royalty and foreign heads of state. Recipients of this prestigious decoration are entitled to use the postnominals น.ร.

The insignia includes a diamond-studded breast star and a sash embellished with nine sacred gemstones—diamond, ruby, emerald, topaz, garnet, sapphire, moonstone, zircon, and cat’s eye chrysoberyl—symbolising Buddhist virtues and cosmic power. The order is deeply rooted in Hindu-Buddhist traditions, as the navaratna (nine gems)were historically believed to bring prosperity and protection. The insignia incorporates these precious stones into both the badge and star of the order, reinforcing their sacred significance. Additionally, male members of the order receive a gold ring set with the nine gems, a practice originating from ancient Siamese military victories, where generals were awarded such rings as symbols of triumph.

Cultural and Political Significance of the Order

The Ancient and Auspicious Order of the Nine Gems was not merely an honorary decoration but a political instrument used to reinforce hierarchy and loyalty within the royal court. Traditionally, the order was limited to 27 seats, a symbolic number reflecting the nine gems in three tiers of spiritual and earthly power. Throughout its history, only 73 individuals have been inducted, with the most recent conferment occurring on 28 July 2019.

During the late 19th century, when Siam faced growing colonial pressure from Britain and France, the adoption of European-style uniforms and court attire was a strategic move by King Rama V to assert Siam’s modernity and sovereignty on the global stage. Wearing the Order of the Nine Gems not only signified high social rank but also demonstrated unwavering allegiance to the Chakri dynasty and the preservation of the kingdom's independence.

This reimagined historical representation illustrates the harmonious blend of Thai and Western cultural elements, showcasing how the Siamese elite of the late 19th century embraced modernisation while maintaining their unique heritage and identity.

อิทธิพลของแฟชั่นวิกตอเรียต่อสยามและสตรีล้านนาในสมัยรัชกาลที่ ๕ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์

ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) (พ.ศ. 2411–2453) แฟชั่นตะวันตก โดยเฉพาะ แฟชั่นวิกตอเรีย มีอิทธิพลอย่างมากต่อการแต่งกายของชนชั้นสูงในสยาม หนึ่งในลักษณะเด่นที่ได้รับความนิยมคือ แขนเสื้อทรงหมูแฮม (Leg-of-mutton sleeves) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความทันสมัยและความสง่างาม ภาพลักษณ์ที่ถูกจินตนาการใหม่นี้นำเสนอ เครื่องแต่งกายของสตรีสูงศักดิ์จากเชียงใหม่หรือล้านนา ซึ่งอาจเป็น ภรรยาของผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (The Ancient and Auspicious Order of the Nine Gems) แม้ว่าลวดลายและสีสันของผ้าที่ปรากฏในภาพเหล่านี้จะเป็นการออกแบบเพื่อความสวยงาม แต่สะท้อนถึงความงดงามของผ้าทอชั้นสูงในยุคนั้น

ทรงผมแบบล้านนาและเครื่องประดับ

ทรงผมของสตรีในภาพได้รับการเผยแพร่เป็นครั้งแรกโดย พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจาก ทรงผมแบบญี่ปุ่น ลักษณะเด่นของทรงผมนี้คือ เกล้าสูงและมวยตำ่ ซึ่งช่วยเสริมบุคลิกที่สง่างาม ทรงผมเช่นนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะสำหรับหญิงชาวล้านนา แตกต่างจากสตรีสยามในภาคกลาง ที่นิยมตัดผมสั้นแบบ ทรงดอกกระทุ่ม ทรงผมล้านนานี้ สะท้อนถึงฐานะและความเหมาะสมในโอกาสสำคัญ อีกทั้งยังสามารถตกแต่งด้วย รัดเกล้าหรือปิ่นทองคำ ซึ่งใช้แสดงถึงสถานะของผู้สวมใส่

ผ้าซิ่นและมรดกสิ่งทอของล้านนา

ช่วงล่างของเครื่องแต่งกายประกอบด้วย ผ้าซิ่น ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของการแต่งกายแบบ ล้านนาและไทยภาคเหนือ แตกต่างจาก โจงกระเบน ที่เป็นที่นิยมใน ราชสำนักสยาม ผ้าซิ่นเป็นผ้าที่ ทอด้วยมืออย่างประณีต มักทำจาก ไหมหรือฝ้ายชั้นดีต่อตีนซิ่นด้วยตีนจก ผ้าซิ่นของสตรีสูงศักดิ์มักจะเป็นตีนจกดิ้นเงินหรือดิ้นทอง  ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของภูมิภาคนี้ แม้ว่าผ้าซิ่นที่เห็นในภาพจะเป็นแบบจินตนาการ แต่สะท้อนให้เห็นถึงรสนิยมและสถานะทางสังคมของสตรีในยุคสมัยนั้น

เครื่องแบบทหารของขุนนางสยาม

บุรุษที่ปรากฏในภาพสวมใส่ เครื่องแบบข้าราชการทหารของสยาม ซึ่งได้รับอิทธิพลจาก เครื่องแบบทหารยุโรปในศตวรรษที่ 19 เป็นผลมาจาก การปฏิรูปการปกครองและการทหารของรัชกาลที่ 5 ซึ่งทำให้ขุนนางและเจ้าหน้าที่รัฐเริ่มใช้ เครื่องแต่งกายแบบตะวันตก เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เสื้อทหารเป็น เสื้อคอสูงแขนยาวสีขาว ปักตกแต่งด้วย ดิ้นทองที่ปกเสื้อและปลายแขนเสื้อ ลักษณะเดียวกับ เครื่องแบบราชสำนักอังกฤษและฝรั่งเศส สายสะพายสีทอง-เขียว-เหลืองที่พาดจากบ่าลงมาด้านข้างลำตัว บ่งบอกถึงตำแหน่งทางการทหารหรือขุนนางระดับสูง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์

จุดเด่นที่สุดของเครื่องแต่งกายบุรุษคือ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (The Ancient and Auspicious Order of the Nine Gems) มีอักษรย่อว่า น.ร. เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง "ดารานพรัตน" สำหรับประดับที่เสื้อ ซึ่งทรงเรียกว่า "เครื่องประดับสำหรับยศ" นอกจากนี้ ยังโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง "แหวนนพรัตน" เพื่อพระราชทานแก่พระราชวงศ์ทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน รวมถึงข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่เป็นพุทธมามกะ เมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการสร้าง "ดวงตรามหานพรัตน์" ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยมีดวงตราสำหรับห้อยสายสะพาย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้มีเพียงชั้นสายสะพายชั้นเดียว ผู้ที่ได้รับพระราชทานต้องเป็นพุทธมามกะ และสามารถประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ได้เฉพาะในงานมงคลหรือพิธีการที่มีหมายกำหนดการระบุไว้ เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้จัดอยู่ในลำดับเกียรติที่ 3 รองจากเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์ และเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่สามัญชนสามารถได้รับพระราชทาน

ประวัติความเป็นมา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์มีรากฐานมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แม้ว่าจะไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้างและตั้งขึ้นมา แต่เชื่อว่าเดิมทีมีลักษณะเป็นสายสร้อยพระสังวาลย์ประดับเนาวรัตน์ ใช้ในพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์ รวมถึงเป็นเครื่องประดับสำหรับพิชัยสงคราม เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้และโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง "พระสังวาลย์นพรัตน์ราชวราภรณ์" ขึ้นใหม่ในลักษณะสังวาลย์แฝด ประดับด้วยอัญมณี 9 ชนิด ได้แก่ เพชร ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน ไพลิน มุกดา เพทาย และไพฑูรย์ จัดเรียงเป็นดอกไม้สลับกันตลอดสาย

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการเกี่ยวกับธรรมเนียมโบราณของสยามที่มี "แหวนนพเก้า" สำหรับพระมหากษัตริย์ทรง และพระราชทานแก่เสนาบดี แหวนดังกล่าวโดยปกติจะถูกสอดไว้ในประคดที่คาดเอว และเมื่อต้องประกอบพิธีสำคัญ เช่น การเจิมคู่บ่าวสาวหรือวางศิลาฤกษ์ จะนำมาสวมที่นิ้วชี้ขวา เมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ ได้พระราชทานแหวนดังกล่าวแก่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการผู้ใหญ่ รวมทั้งทรงสร้าง "ดวงตรานพรัตนดารา" เป็นดอกประจำยามประดับพลอย 9 ชนิด สำหรับประดับบนเสื้อ เพื่อพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า พระบรมวงศานุวงศ์ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ไม่มีสายสังวาล เนื่องจากสายสังวาลมีไว้สำหรับพระมหากษัตริย์เท่านั้น พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง "ดวงตรามหานพรัตน์" เป็นดวงตราขนาดเล็กคล้ายดอกประจำยาม ประดับด้วยพลอย 9 ชนิด ใช้สำหรับห้อยกับแพรแถบสีเหลืองขอบเขียวริ้วแดงริ้วน้ำเงิน สะพายบ่าจากขวาลงมาซ้ายแทนสังวาล นอกจากนี้ยังมีการตราพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ กำหนดให้มีเครื่องราชอิสริยาภรณ์จำนวน 20 สำรับ ตามจำนวนแหวนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้าง โดย 1 สำรับสำหรับพระมหากษัตริย์ และอีก 19 สำรับสำหรับพระบรมวงศานุวงศ์

เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มจำนวนเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้อีก 7 สำรับ รวมเป็น 27 สำรับ โดยทรงพิจารณาว่า พระสังวาลนพรัตน์ราชวราภรณ์ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสร้างนั้นมีดอกประดับเนาวรัตน์สลับกัน 27 ดอก จึงสมควรกำหนดจำนวนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้สอดคล้องกับจำนวนดอกพระสังวาลดังกล่าว จำนวน 27 สำรับ นี้เป็นจำนวนที่สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

#aifashionlab #AI #aiartist #aiart #aifashion #aifashiondesign #aifashionstyling #aifashiondesigner #fashion #fashionhistory #historyoffashion #fashionstyling #fashionphotography #digitalfashion #digitalfashiondesign #digitalcostumedesign #digitaldesign #digitalaiart #bangkok #bangkokthailand #chiangmai #lanna  #ThaiFashionHistory #ThaiFashionAI #flux #fluxlora

Previous
Previous

Thai Fashion in the Late Reign of King Rama V (1900–1910): The Transition to Western Styles and the Tradition of Auspicious Colours

Next
Next

Fashion and Portrait Photography in Early 20th-Century Lanna: The Edwardian Influence in Monton Payap