Reimagining the Portrait of Princess Dara Rasmi through AI: Studying Historical Attire, Burmese Luntaya Acheik, Lanna Teen Jok Hem Borders, and the Political Dynamics of Siam, Lanna, and Burma

The AI-enhanced portrait of Princess Dara Rasmi provides a powerful visual representation of her legacy, allowing future generations to engage with her likeness and textile heritage in greater depth.

Reimagining the Portrait of Princess Dara Rasmi through AI: Studying Historical Attire, Burmese Luntaya Acheik, Lanna Teen Jok Hem Borders, and the Political Dynamics of Siam, Lanna, and Burma

For the purpose of studying fashion history, particularly 19th-century court dress and textiles of Thailand, this project explores the hybridisation of Burmese Luntaya Acheik and Lanna Teen Jok Hem Borders in the context of Princess Consort Dara Rasmi. Given the limited availability of historical records and photographs, this initiative aims to create a new historiography by employing AI technology to reconstruct and visualise historical garments.

As part of London based AI Fashion Lab’s efforts to advance research in historical costumes and textiles, this project involves training AI models, including LoRA, to generate historically accurate representations of court dress and woven fabrics. By using AI-enhanced coloured photographs, I have created a digital portrait of Princess Dara Rasmi, reimagining the intricate details of her attire in colour. This work serves to honour her legacy and to bring the textile heritage of Lanna and Burma into a more vivid and accessible visual format.

1. AI-Assisted Research on Luntaya Textiles and Their Political Significance

This collection represents an attempt to train AI models to study historical fashion, focusing on the Pha-Sin Luntaya (Burmese Luntaya Acheik textile), a style introduced by Princess Consort Dara Rasmi through the integration of Burmese Luntaya Acheik textiles with Lanna Teen Jok Hem Borders. This hybrid fashion trend embodied political and cultural significance, reflecting the shifting power relations between Siam, Lanna, and Burma (then under British colonial rule).

While LoRA AI models have successfully simulated aspects of Burmese Luntaya weaving, the intricate Acheik wave patterns remain difficult to fully replicate due to their delicate, highly detailed craftsmanship. However, the latest AI-generated images represent the most accurate digital recreations thus far, successfully capturing other elements, including Edwardian fashion details such as upswept hairstyles and lace blouses.

2. Religious and Cosmological Symbolism of Luntaya Acheik Patterns

The Burmese Luntaya Acheik textile is not merely an artistic expression but also a symbol of Buddhist cosmology and religious beliefs. Thai historian Paothong Thongchua describes the spiritual meaning of Acheik wave patterns in Luntaya weaving:

“The wave pattern on this Luntaya Acheik textile carries profound meaning, representing the sacred Sattaboriphan mountains... The layered wave motifs symbolise the peaks of the Sattaboriphan mountains and the great oceans surrounding Mount Meru. The highest peak corresponds to the position of the bun on a Burmese woman’s head, signifying Mount Meru—the cosmic centre of the universe, where Lord Indra and celestial beings reside. Traditional Burmese women style their hair in an elegant bun and adorn it with flowers not merely for beauty but as an offering to the divine.” (Paothong Thongchua, Krungthep Turakij, 30 May 2022)

Following this belief, when Burmese women wore Luntaya Acheik textiles, they symbolically represented the cosmic structure on their own bodies. The seven-layered wave motifs were woven to mirror the seven concentric Sattaboriphan mountain ranges surrounding Mount Meru, the celestial home of Lord Indra in Hindu-Buddhist cosmology.

3. The Political Context: Siam, Lanna, and British Burma

3.1 The Complex Relationship Between Siam and Lanna

Lanna was historically an independent kingdom, but after being under Burmese rule for several centuries, it was incorporated into Siam’s sphere of influence in the late 18th century. However, Lanna retained its distinct cultural identity and was not fully integrated into the Siamese state.

During the reign of King Chulalongkorn (Rama V), efforts were made to consolidate Siamese authority over Lanna. This led to tensions between the Siamese government and Lanna’s ruling elite, who wished to preserve their regional autonomy.

4. AI-Enhanced Portrait of Princess Dara Rasmi

To further explore Princess Dara Rasmi’s historical legacy, AI-generated portraits have been created to bring her to life, ensuring that her presence endures through modern digital visualisation techniques.

The likeness of the AI-enhanced portrait remains true to her depiction in 19th-century glass plate photographs kept at the National Archives of Thailand. By enhancing these historical images in full colour, the project aims to bridge the gap between historical representation and contemporary understanding, enabling a deeper appreciation of her role, identity, and the textiles she wore.

This AI-enhanced visualisation offers a faithful and respectful tribute to Princess Dara Rasmi, allowing viewers to engage with the details of her clothing and accessories in a manner that was previously inaccessible through traditional black-and-white photography.

5. The Political Symbolism of Pha-Sin Luntaya and Lanna Teen Jok Hem Borders

The decision of Princess Consort Dara Rasmi to wear a Pha-Sin Luntaya with a Lanna Teen Jok Hem Border was likely a political statement, subtly reflecting the power struggle between Siam, Lanna, and Burma.

  • The fusion of Burmese Luntaya Acheik with Lanna Teen Jok weaving could symbolise Lanna’s efforts to maintain its distinct cultural identity, despite increasing Siamese control.

  • Wearing a hybrid textile style at the Siamese court may have challenged the notion that Lanna had been fully assimilated into Siamese rule.

6. Conclusion: AI and the Study of Political Fashion

This study explores the interplay between historical fashion and political history through AI-generated reconstructions of Pha-Sin Luntaya with Lanna Teen Jok Hem Borders.

While Burmese Luntaya Acheik textiles were deeply rooted in Buddhist cosmology, their adaptation in Lanna court dress carried additional political implications, particularly in Princess Dara Rasmi’s role within the Siamese royal court.

The AI-enhanced portrait of Princess Dara Rasmi provides a powerful visual representation of her legacy, allowing future generations to engage with her likeness and textile heritage in greater depth.

Although AI still faces limitations in replicating the complex weaving of Luntaya Acheik, this project represents a major step in using artificial intelligence to study historical textiles and their socio-political significance.

การรังสรรค์พระรูปของพระราชชายา เจ้าดารารัศมีด้วยเทคโนโลยี AI: การศึกษาเครื่องแต่งกายทางประวัติศาสตร์ ผ้าซิ่นลุนตยา อะฉิก ตีนจกล้านนา และพลวัตทางการเมืองระหว่างสยาม ล้านนา และพม่า

เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์แฟชั่น โดยเฉพาะเครื่องแต่งกายและสิ่งทอแห่งราชสำนักในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผมได้ดำเนินโครงการนี้โดยเน้นถึง การผสมผสานระหว่างผ้าลุนตยา อะฉิก แห่งพม่า กับตีนจกยกดิ้นของล้านนา ซึ่งมีความสำคัญทั้งในแง่ของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและสัญลักษณ์ทางการเมือง โครงการนี้มุ่งหวังที่จะ สร้างประวัติศาสตร์นิพนธ์ใหม่ โดยใช้ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อช่วยฟื้นคืนภาพลักษณ์ของเครื่องแต่งกายในยุคนั้นที่มีหลักฐานทางภาพถ่ายและเอกสารจำกัด

การศึกษานี้มีศูนย์กลางอยู่ที่ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ซึ่งทรงเป็นบุคคลสำคัญที่ช่วยสืบทอดและปรับเปลี่ยนเครื่องแต่งกายของล้านนาให้สอดคล้องกับบริบททางสังคมและการเมือง พระองค์ทรงผสมผสาน ผ้าลุนตยา อะฉิก ของพม่ากับ ตีนจกยกดิ้น อันเป็นเอกลักษณ์ของล้านนา ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นความสวยงามและความชอบส่วนพระองค์เท่านั้น แต่ยังเป็น สัญลักษณ์ของการเมืองระหว่างล้านนา สยาม และพม่า

AI Fashion Lab จากกรุงลอนดอน ได้ดำเนินโครงการนี้โดยใช้ แบบจำลอง LoRA ในการพัฒนาแบบจำลองสิ่งทอทางประวัติศาสตร์ และสร้างภาพเครื่องแต่งกายด้วยการศึกษาและค้นคว้าทางวิชาการ โดยผมใช้ การลงสีเพื่อเพิ่มสีสันให้กับภาพถ่ายขาวดำ และ การสร้างภาพใหม่ผ่าน AI เพื่อให้สามารถเห็นลวดลายสิ่งทอและองค์ประกอบแฟชั่นได้อย่างชัดเจน ผมได้จัดทำ พระรูปอของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี เพื่อรำลึกถึง พระเกียรติคุณของพระองค์ และเพื่อแสดงให้เห็นว่า ฉลองพระองค์ผ้าซิ่นลุนตยาต่อด้วยตีนจกนั้นมีสีสันและรายละเอียดที่สมจริงเพียงใด

1. การศึกษาเครื่องแต่งกายผ่าน AI: ผ้าลุนตยา และตีนจก กับความหมายเชิงสัญลักษณ์

การศึกษานี้เป็นความพยายามในการฝึกแบบจำลองปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับ พลวัตของแฟชั่นราชสำนักในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเน้นไปที่ ผ้าซิ่นลุนตยา อะฉิก (Burmese Luntaya Acheik textile) ซึ่งเป็นพระภูษาที่ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ทรงเลือกสวมใส่ และการผสมผสานกับ ตีนจกยกดิ้นของล้านนา ซึ่งสะท้อนถึง สถานะของพระองค์และอัตลักษณ์ของล้านนา

เครื่องแต่งกายของพระองค์ไม่เพียงแต่เป็นเครื่องหมายแห่งพระเกียรติยศ แต่ยังเป็น การสื่อสารทางการเมืองที่ละเอียดอ่อนท่ามกลางแรงกดดันระหว่าง สยาม ล้านนา และพม่า ในยุคที่ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเผชิญกับการแผ่ขยายอิทธิพลของจักรวรรดินิยมตะวันตก

แม้ว่า แบบจำลอง LoRA จะสามารถจำลองลักษณะของ ผ้าลุนตยา ได้ในระดับหนึ่ง แต่รายละเอียดของลายคลื่น (Acheik Wave Patterns) ยังคงเป็นความท้าทาย เนื่องจากลวดลายมีความประณีตและซับซ้อน อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์จากแบบจำลองล่าสุดถือเป็น ภาพที่แม่นยำที่สุดในปัจจุบัน โดยเฉพาะ องค์ประกอบอื่น ๆ เช่น แฟชั่นยุคเอ็ดเวิร์ดเดียน (Edwardian Fashion) ไม่ว่าจะเป็น ทรงผมเกล้ามวยสูง และฉลองพระองค์ลูกไม้ ยังคงถูกสร้างขึ้นได้อย่างแม่นยำ

2. สัญลักษณ์ทางศาสนาและจักรวาลวิทยาของลวดลายลุนตยา

ผ้าลุนตยา อะฉิก มิใช่เพียงสิ่งทอเพื่อความงาม แต่ยังสะท้อนถึงจักรวาลวิทยาและความเชื่อในศาสนาพุทธ โดย อาจารย์เผ่าทอง ทองเจือ ได้อธิบายความหมายของลายคลื่นบนผ้าลุนตยาไว้ว่า

“ลายคลื่นของผ้าลุนตยาผืนนี้เป็นผ้าที่มีความหมายดีมาก เป็นเรื่องเขาสัตตบริภัณฑ์ ผู้หญิงพม่าบวชไม่ได้ ก็จะนุ่งผ้าลุนตยาโบราณ ซึ่งเป็นเขาสัตตบริภัณฑ์ล้อมรอบ เมื่อนุ่งเข้าไปปั๊บในลำตัว ก็แปลว่าตัวเขาคือเชิงเขา แล้วมุ่นมวยผมก็คือเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นที่สถิตของพระอินทร์เทพสูงสุดในพุทธศาสนา ผู้หญิงพม่าเกล้ามวย จัดไรผมให้หอมเป็นพุทธบูชา ไม่ใช่เพื่อความงาม เอาดอกไม้เสียบมวยผมก็เป็นเครื่องบูชาพระอินทร์ที่อยู่บนยอดมวยผม” (เผ่าทอง ทองเจือ, กรุงเทพธุรกิจ, 30 พฤษภาคม 2022)

ตามคติในศาสนาพราหมณ์ พุทธ และเชน เขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางของจักรวาล เป็นที่สถิตของเทพยดา ล้อมรอบด้วยภูเขาวงแหวนเรียงซ้อนกันออกไปเป็นชั้นๆ และมีความสูงลดหลั่นกันไปเป็นหมู่เขาบริวาร เรียกว่าหมู่เขาสัตตบริภัณฑ์ ระหว่างภูเขาแต่ละลูกมีมหาสมุทรคั่นเป็นห้วงๆ รวม 7 ห้วงน้ำเช่นเดียวกัน ลายคลื่นบนผ้าทอลุนตยาที่ซ้อนเป็นชั้นๆ จึงเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ยอดเขาสัตตบริภัณฑ์และห้วงมหาสมุทรที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุบนมุ่นมวยผมที่อยู่สูงสุดของร่างกายนั่นเอง ถือเป็นลายทอที่ทอเพื่อบูชาเทพยดาโดยแท้

ด้วยเหตุนี้ สตรีพม่าที่สวมใส่ผ้าซิ่นลุนตยา อะฉิก จึงเป็นเสมือนการจำลองโครงสร้างแห่งจักรวาลบนร่างกายของตนเอง โดย ลายคลื่นเจ็ดชั้นเป็นตัวแทนของหมู่เขาสัตตบริภัณฑ์ ซึ่งล้อมรอบเขาพระสุเมรุ อันเป็นที่ประทับของพระอินทร์ ตามคติพราหมณ์-พุทธ

3. พระฉายาลักษณ์ของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ผ่าน AI

ในโครงการนี้ ผมได้สร้าง พระฉายาลักษณ์ของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ผ่าน AI เพื่อ ถวายราชสดุดีแด่พระองค์ และ ฟื้นคืนพระฉายาลักษณ์ของพระองค์ให้ปรากฏมีชีวิตชีวาอีกครั้ง

ภาพที่สร้างขึ้นนี้มีความใกล้เคียงกับพระรูปที่บันทึกไว้ในแผ่นฟิล์มกระจก (Glass Plate Photographs) ซึ่งเก็บรักษาไว้ ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ โดยการใช้เทคนิคเพิ่มสีสัน ทำให้สามารถมองเห็นรายละเอียดของฉลองพระองค์ สิ่งทอ และพระจริยวัตรได้อย่างสมจริง

การใช้ AI ในการสร้างภาพนี้ มิได้เป็นเพียงการชื่นชมความงาม แต่เป็น เครื่องมือในการอนุรักษ์และเผยแพร่พระราชศิลปการแห่งยุคสมัย เพื่อให้ คนรุ่นหลังได้เข้าใจแฟชั่นราชสำนักและความหมายของสิ่งทอในบริบททางประวัติศาสตร์

4. บริบทความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับล้านนา และความเป็นไปได้ที่ล้านนาอาจหันไปพึ่งพม่า-อังกฤษ

4.1. ความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างสยามและล้านนา

ล้านนาเคยเป็นอาณาจักรที่มีอิสรภาพ แต่ภายหลังการถูกพม่าปกครองมาหลายร้อยปี สยามสามารถยึดครองล้านนาได้สำเร็จในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 อย่างไรก็ตาม ล้านนายังคงมี เอกลักษณ์เฉพาะตัว และไม่ได้รวมเป็นส่วนหนึ่งของสยามอย่างสมบูรณ์

แม้ว่ารัชกาลที่ 5 จะพยายามรวมล้านนาเข้ากับสยามผ่านการส่งข้าหลวงขึ้นไปปกครองแทนเจ้าผู้ครองนคร ระบบการปกครองของสยามในล้านนายังคงมีลักษณะเป็น "รัฐประเทศราช" ซึ่งทำให้ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ยังคงมีบทบาทในฐานะศูนย์กลางอำนาจของล้านนา

อย่างไรก็ตาม ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 สยามเริ่มเร่งกระบวนการ การผนวกล้านนาเข้ากับอำนาจส่วนกลาง ทำให้เกิดความขัดแย้งกับกลุ่มเจ้านายล้านนาที่ต้องการรักษาอำนาจของตนเอง

4.2. เหตุใดล้านนาอาจมองพม่า-อังกฤษเป็นทางเลือก

ช่วงเวลานั้น พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ (British Burma) และอังกฤษมีนโยบายขยายอิทธิพลในดินแดนภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หากล้านนาแสดงจุดยืนไม่ต้องการอยู่ใต้การปกครองของสยาม การขอความช่วยเหลือจากอังกฤษอาจเป็นทางเลือกทางการเมืองที่มีความเป็นไปได้

มีบันทึกว่าอังกฤษเคยให้ความสนใจในล้านนา โดยเฉพาะในช่วงที่สยามกำลังเผชิญกับแรงกดดันจากจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ขยายอิทธิพลเข้าสู่ลาว อังกฤษอาจมองล้านนาเป็น "รัฐกันชน" ที่สามารถใช้เป็นฐานอำนาจในการคานอำนาจของฝรั่งเศส

มีหลักฐานจากแหล่งข้อมูลร่วมสมัยที่กล่าวถึง ข่าวลือว่าสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งอังกฤษเคยส่งทูตมาเจรจากับพระเจ้าอินทวิชยานนท์ (เจ้าหลวงเชียงใหม่, ครองราชย์ พ.ศ. 2416–2440) เพื่อขอให้ เจ้าดารารัศมีเป็นพระราชธิดาบุญธรรม และสถาปนาเป็น "เจ้าหญิงแห่งเชียงใหม่" ภายใต้จักรวรรดิอังกฤษ แม้ว่าไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด แต่เหตุการณ์นี้สะท้อนถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างล้านนา สยาม และอังกฤษในเวลานั้น

5. พระเจ้าอินทวิชยานนท์ กษัตริย์เชียงใหม่และบริบททางการเมืองของเจ้าดารารัศมี

ในรัชสมัยของ รัชกาลที่ 5 กษัตริย์แห่งเชียงใหม่คือ พระเจ้าอินทวิชยานนท์ (ครองราชย์ พ.ศ. 2416–2440) พระองค์เป็นเจ้าหลวงเชียงใหม่ลำดับที่ 7 และเป็นพระบิดาของ เจ้าดารารัศมี

ช่วงเวลานั้น ล้านนาอยู่ภายใต้อิทธิพลของสยาม แต่ยังคงมี ความเป็นรัฐกึ่งอิสระ ซึ่งทำให้สยามต้องใช้วิธีทางการเมืองในการรวบอำนาจอย่างแนบเนียน หนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญคือ การเชื่อมสัมพันธ์กับราชวงศ์เชียงใหม่ผ่านการอภิเษกสมรส

5.1. ข่าวลือเรื่องการรับเลี้ยงของอังกฤษ และเหตุผลที่ส่งเจ้าดารารัศมีไปสยาม

ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 อังกฤษมีอิทธิพลเหนือพม่าและกำลังขยายอำนาจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีข่าวลือว่า สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งอังกฤษ สนใจให้ล้านนาเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ และมีรายงานว่า อังกฤษอาจรับเจ้าดารารัศมีเป็นพระราชธิดาบุญธรรม เพื่อสร้างอิทธิพลในภูมิภาค

รัชกาลที่ 5 ทรงตระหนักว่าหากอังกฤษรับเจ้าดารารัศมีเป็นพระราชธิดาบุญธรรมจริง อาจทำให้ล้านนามีสถานะที่แข็งแกร่งขึ้น และอาจเลือกแยกตัวออกจากอิทธิพลของสยาม ในการตอบโต้ รัชกาลที่ 5 ทรงขอให้พระเจ้าอินทวิชยานนท์ส่งเจ้าดารารัศมีมาทำราชกาลฝ่ายใน จากนั้น พ.ศ. 2429 ก็มีการถวายตัวเจ้าดารารัศมีอย่างเป็นทางการ โดยทรงเป็นพระภรรยาเจ้าเพียงพระองค์เดียวที่มาจากประเทศราช ในขณะที่อีก 8 พระองค์ทรงเป็นพระภรรยาเจ้าชั้นลูกหลวงและชั้นหลานหลวง (“ลูก” และ “หลาน” ของพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อนๆ)

5.2. การเป็นพระราชชายาในสยาม: ตัดโอกาสที่ล้านนาจะอยู่ใต้อิทธิพลอังกฤษ

เจ้าดารารัศมีเสด็จมายังกรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2429 และได้รับตำแหน่งเป็น พระราชชายาในรัชกาลที่ 5 การอภิเษกครั้งนี้ ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องความสัมพันธ์ส่วนพระองค์ แต่เป็นการเชื่อมโยงทางการเมืองที่ชัดเจน

  • ทำให้ล้านนาใกล้ชิดกับสยามมากขึ้น และลดความเสี่ยงที่ล้านนาจะขอความช่วยเหลือจากอังกฤษ

  • ตัดข่าวลือเรื่องการรับเจ้าดารารัศมีเป็นพระราชธิดาบุญธรรมของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งอังกฤษ ทันที เนื่องจากการที่พระราชชายาเจ้าดารารัศมีเป็นส่วนหนึ่งของราชสำนักสยาม ทำให้ไม่มีสถานะที่อังกฤษสามารถแทรกแซงได้

นอกจากนี้ สยามยังได้ ปรับโครงสร้างการปกครองล้านนา ให้เข้าสู่ระบบ "มณฑลเทศาภิบาล" ในเวลาต่อมา ลดอำนาจของเจ้านายล้านนาและรวมล้านนาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสยามอย่างเป็นทางการ

6. การเมืองของผ้าซิ่น: การผสมผสานระหว่างผ้าลุนตยากับตีนจกล้านนา

การที่ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ทรงสวม ผ้าซิ่นลุนตยาต่อด้วยตีนจก เป็นสิ่งที่นักประวัติศาสตร์ล้านนาตีความว่ามี นัยทางการเมือง แฝงอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของยุค รัชกาลที่ 5-6

6.1. ความอ่อนไหวทางการเมืองระหว่างสยาม-ล้านนา-พม่า

ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ล้านนาเป็นดินแดนที่ทั้งสยามและพม่าต่างต้องการครอบครอง สยามต้องการผนวกล้านนาให้เป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรอย่างสมบูรณ์ ขณะที่พม่าตกอยู่ภายใต้การปกครองของ อังกฤษ และอาจกลายเป็นพันธมิตรทางเลือกสำหรับล้านนา

การที่ เจ้าดารารัศมีทรงสวมผ้าซิ่นลุนตยา จึงอาจเป็นการส่งสัญญาณถึง ความสัมพันธ์ระหว่างล้านนาและพม่า ซึ่งต่างอยู่ในสถานะรัฐกันชนที่ถูกช่วงชิงจากสองมหาอำนาจในภูมิภาค

6.2. ความหมายแฝงของตีนจกล้านนา

ผ้าตีนจกเป็นสัญลักษณ์ของล้านนา ไม่เคยมีเจ้านายฝ่ายเหนือพระองค์ใดทรงสวมผ้าซิ่นลุนตยาแบบราชนารีพม่ามาก่อน การที่ เจ้าดารารัศมีทรงนำผ้าตีนจกมาต่อกับผ้าลุนตยา จึงอาจเป็นการแสดงออกถึง อัตลักษณ์ล้านนา และส่งสัญญาณให้สยามเห็นว่า ล้านนายังสามารถเลือกข้างทางการเมืองของตนเองได้

การใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อสร้างภาพ ผ้าซิ่นลุนตยาต่อด้วยตีนจก เป็นการศึกษาผ่านการทดลองที่เชื่อมโยง ประวัติศาสตร์แฟชั่นกับบริบททางการเมือง ผ้าลุนตยาไม่เพียงเป็นสิ่งงดงามทางศิลปะ แต่ยังสะท้อนถึงความเชื่อ ศาสนา และอำนาจของชนชั้นสูงพม่า

การที่ เจ้าดารารัศมี ทรงนำผ้าลุนตยามาประยุกต์กับ ตีนจกล้านนา อาจเป็นมากกว่าการเลือกสวมใส่เสื้อผ้า หากแต่เป็น ถ้อยแถลงทางการเมืองที่สะท้อนอัตลักษณ์ล้านนา ท่ามกลางแรงกดดันของจักรวรรดิในภูมิภาค

7. บทสรุป: AI กับการศึกษาแฟชั่นและการเมือง

โครงการนี้เป็นการสำรวจ ความเชื่อมโยงระหว่างแฟชั่นประวัติศาสตร์กับพลวัตทางการเมือง ผ่านการใช้ AI ในการสร้างพระรูปของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี โดยเฉพาะฉลองพระองค์ผ้าซิ่นลุนตยาต่อด้วยตีนจก

แม้ว่าผ้าลุนตยา อะฉิก ของพม่าจะมีรากฐานลึกซึ้งใน ความเชื่อทางพุทธศาสนา แต่การที่ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ทรงเลือก ประยุกต์ลุนตยากับตีนจกของล้านนา อาจสะท้อนถึง พระปรีชาญาณในการรักษาอัตลักษณ์ของล้านนา ท่ามกลางแรงกดดันทางการเมืองจากสยามและจักรวรรดิอังกฤษ

AI Fashion Lab ได้สร้างสรรค์พระรูปของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี เพื่อให้ผู้คนในปัจจุบันได้เข้าใจบริบททางการเมืองและการศึกษาประวัติศาสตร์แฟชั่น แม้ว่า AI ยังมีข้อจำกัดในการจำลองลวดลายที่ซับซ้อนของสิ่งทอ แต่โครงการนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการใช้ เทคโนโลยี AI เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์แฟชั่นและความหมายที่แฝงอยู่ในเครื่องแต่งกายแห่งราชสำนัก

#aifashionlab #AI #aiartist #aiart #aifashion #aifashiondesign #aifashionstyling #aifashiondesigner #fashion #fashionhistory #historyoffashion #fashionstyling #fashionphotography #digitalfashion #digitalfashiondesign #digitalcostumedesign #digitaldesign #digitalaiart #bangkok #bangkokthailand #chiangmai #lanna  #ThaiFashionHistory #ThaiFashionAI #flux #fluxlora

Previous
Previous

Restoring and Colourising a Historic Photograph of Queen Rambai Barni and Prince Chula Chakrabongse

Next
Next

Studying Historical Attire through AI Modeling: Burmese Luntaya Acheik, Lanna Teen Jok Hem Border, and the Political Dynamics of Siam, Lanna, and Burma