Reimagining 1920s Fashion with AI: A Thai Perspective
I’m particularly excited to share involves reimagining the iconic styles of the British television series Downton Abbey in a Thai context. Downton Abbey, set in the early 20th century, chronicles the lives of the aristocratic Crawley family and their staff. Its costume design is celebrated for showcasing the transition from Edwardian opulence to the sleek, modern lines of the 1920s.
Reimagining 1920s Fashion with AI: A Thai Perspective
The fashion of the 1920s holds a timeless charm, capturing an era of transformation, elegance, and innovation. As a costume designer, I’ve always been inspired by how this iconic decade merged simplicity with sophistication. Using AI, I’ve been able to create authentic designs from this period, tailored for both Western and Thai contexts. My AI model, trained extensively on historical data from the reign of King Rama VII, has become an invaluable tool in my creative process.
One project I’m particularly excited to share involves reimagining the iconic styles of the British television series Downton Abbey in a Thai context. Downton Abbey, set in the early 20th century, chronicles the lives of the aristocratic Crawley family and their staff. Its costume design is celebrated for showcasing the transition from Edwardian opulence to the sleek, modern lines of the 1920s.
The series’ three leading ladies—Mary, Edith, and Rose—each have distinct styles. Mary’s wardrobe is elegant and structured, reflecting her confidence and sophistication. Edith’s attire features soft, romantic details, often in pastel tones with delicate embroidery. Rose’s youthful and daring outfits embrace the playful spirit of flapper fashion. Together, their costumes are a stunning representation of 1920s Western elegance.
Using these designs as inspiration, I trained my AI model to adapt them for a Thai setting. The results have been extraordinary. The AI preserved the glamour of the original designs while infusing them with a distinctly Thai identity. For example, where Western flapper dresses might feature sequins and Art Deco patterns, their Thai counterparts incorporate traditional motifs, handwoven silk, and draped silhouettes reminiscent of Thai royal attire from the era. Accessories like tiaras and headbands were reinterpreted with Thai-inspired designs, such as floral garlands and intricately crafted gold ornaments.
However, creating these designs isn’t as simple as pressing a button. My process began with sourcing original digital images from the National Archives of Thailand, primarily glass plate negatives from the early 20th century. These negatives, known for their incredible detail and quality, provided a rich dataset. Initially, I started with around 50 images. Since then, I’ve expanded my dataset to 100 fully restored and colourised images, ensuring a more comprehensive representation of the era.
To make these images usable, I used AI applications to colourise the black-and-white photographs, but the results were far from perfect. Each image required extensive manual editing and enhancement to achieve lifelike and historically accurate results. It was a long and meticulous process, but the effort was worth it to ensure authenticity. These 100 images now form the foundation of my AI model, allowing me to generate a vast range of designs inspired by both Western and Thai aesthetics of the 1920s.
The AI has become a powerful tool for generating variations of designs, streamlining the workflow, and saving countless hours compared to manually sketching every concept. The creative process didn’t stop there—each design was reviewed, corrected, and refined to ensure it aligned with my vision. AI is not a replacement for designers; it’s a tool that enhances our ability to create.
There’s often a misconception that using AI diminishes the role of the designer. I believe the opposite is true. AI relies entirely on the dataset it is trained on, and in my case, this dataset was built through extensive research, colourisation, and preparation. The AI works within the framework I’ve created, reflecting my input and expertise. It’s akin to using a paintbrush or sewing machine—tools that assist the artist but don’t define the art.
Imagine Downton Abbey in a Thai version, set in the 1920s. The costumes would reflect the elegance of the period while celebrating the unique cultural identity of Siam. Thanks to AI, designing such elaborate wardrobes has become more efficient and imaginative. I understand why some film studios hesitate to allow costume designers to use AI, often due to concerns about copyright. But when designers use their own datasets and control the creative process, the output is entirely their own—just as a painting belongs to the artist, not the company that makes the paint.
Below are examples of my work, featuring side-by-side comparisons of Western-inspired designs and their Thai counterparts. These creations demonstrate the power of AI to merge cultural heritage with the glamour of a bygone era, offering endless possibilities for costume design in film and television.
By embracing AI as part of the creative process, we’re not losing the essence of design—we’re expanding it. With proper training, preparation, and thoughtful use, AI becomes a powerful ally in bringing our visions to life.
การรังสรรค์แฟชั่นยุค 1920 ด้วย AI: มุมมองแบบไทย
แฟชั่นในยุค 1920 ถือเป็นเสน่ห์ที่ไร้กาลเวลา สะท้อนถึงยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง ความสง่างาม และนวัตกรรมเสื้อผ้า ในฐานะนักออกแบบเครื่องแต่งกาย ผมมักได้รับแรงบันดาลใจจากยุคที่โดดเด่นนี้ซึ่งผสมผสานความเรียบง่ายเข้ากับความซับซ้อนได้อย่างลงตัว ด้วยความก้าวหน้าทาง AI ผมสามารถสร้างสรรค์ผลงานที่สอดคล้องกับแฟชั่นในยุคนั้นได้อย่างสมจริง ทั้งในบริบทของตะวันตกและไทย โมเดล AI ของผมที่ได้รับการฝึกฝนอย่างพิถีพิถันจากข้อมูลในยุคสมัยรัชกาลที่ 7 ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานของผม
โปรเจกต์ที่ผมตื่นเต้นที่จะแบ่งปันในวันนี้คือการนำแรงบันดาลใจจากสไตล์อันโดดเด่นของซีรีส์ Downton Abbey มาปรับให้เข้ากับบริบทของไทย Downton Abbey เป็นซีรีส์ที่มีชื่อเสียงซึ่งเล่าเรื่องราวของครอบครัวชนชั้นสูงชาวอังกฤษในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 และผู้คนในคฤหาสน์ของพวกเขา การออกแบบเครื่องแต่งกายในซีรีส์นี้โดดเด่นและได้รับการยกย่องอย่างมาก โดยเฉพาะการถ่ายทอดความเปลี่ยนแปลงจากความหรูหราสไตล์ Edwardian ไปสู่เส้นสายที่ทันสมัยและเรียบง่ายของยุค 1920
ตัวละครหญิง 3 คนหลักในซีรีส์ ได้แก่ แมรี่ อีดิธ และโรส ต่างมีสไตล์ที่โดดเด่นแตกต่างกัน แมรี่มีสไตล์ที่สง่างามและเรียบหรูสะท้อนถึงความมั่นใจและสง่าผ่าเผยของเธอ อีดิธแต่งตัวในสไตล์อ่อนหวาน โรแมนติก มักมีรายละเอียดปักลายละเอียดอ่อนในโทนสีพาสเทล ขณะที่โรสสะท้อนความกล้าหาญและความสนุกสนานของยุคฟลอปเปอร์ด้วยชุดที่ดูทันสมัยและร่าเริง รวมกันแล้วพวกเธอเป็นตัวแทนของความงามสง่าของแฟชั่นยุค 1920 ในฝั่งตะวันตกได้อย่างสมบูรณ์แบบ
ด้วยแรงบันดาลใจจากดีไซน์เหล่านี้ ผมได้ฝึกโมเดล AI ให้สามารถปรับเปลี่ยนและดัดแปลงดีไซน์เหล่านี้ให้เข้ากับบริบทแบบไทยได้ ผลลัพธ์ที่ได้คือความน่าทึ่ง โมเดล AI ของผมไม่เพียงรักษาความงดงามของดีไซน์ต้นแบบเอาไว้ แต่ยังเพิ่มความเป็นเอกลักษณ์แบบไทยเข้าไปอีกด้วย เช่น ในขณะที่ชุดเดรสของฝั่งตะวันตกอาจเน้นลวดลายสไตล์ Art Deco และเลื่อมระยิบระยับ การปรับให้เข้ากับบริบทแบบไทยได้นำเสนอผ้าไหมทอมือ ลวดลายไทย และการออกแบบแบบจับจีบที่สะท้อนถึงความสง่างามของเครื่องแต่งกายราชสำนักไทยในยุคนั้น นอกจากนี้ เครื่องประดับอย่างมงกุฎและเฮดแบนด์ก็ได้รับการตีความใหม่ในรูปแบบไทย เช่น การใช้พวงมาลัยดอกไม้หรือเครื่องประดับทองที่ประณีต
แต่กระบวนการนี้ไม่ได้จบแค่การกดปุ่มให้ AI ทำงาน ผมเริ่มต้นด้วยการรวบรวมภาพถ่ายดิจิทัลจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติของไทย โดยเฉพาะภาพถ่ายจากแผ่นกระจกที่นิยมในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ภาพเหล่านี้มีรายละเอียดและคุณภาพที่โดดเด่น ทำให้เป็นฐานข้อมูลที่สมบูรณ์แบบ ผมเริ่มต้นด้วยการใช้ AI แอปพลิเคชันช่วยระบายสีภาพขาวดำเหล่านี้ให้เป็นสี แต่ผลลัพธ์เบื้องต้นนั้นยังไม่สมบูรณ์แบบ ผมต้องใช้เวลามากในการแก้ไขและปรับปรุงภาพด้วยตัวเองเพื่อให้ดูสมจริงและมีความถูกต้องทางประวัติศาสตร์ กระบวนการนี้ใช้เวลานาน แต่ก็คุ้มค่าที่จะทำเพื่อให้ได้ภาพที่สมบูรณ์แบบที่สุด
จากการเริ่มต้นที่ชุดข้อมูล 50 ภาพ ตอนนี้ผมได้ขยายชุดข้อมูลไปถึง 100 ภาพ ซึ่งได้รับการปรับแต่งและลงสีสันพิถีพิถัน สิ่งนี้ช่วยสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับโมเดล AI ของผม เพื่อสร้างดีไซน์ที่หลากหลายซึ่งผสมผสานความงามแบบตะวันตกและแบบไทยได้อย่างลงตัว
โมเดล AI ของผมได้กลายเป็นเครื่องมือที่ดีสำหรับการสร้างสรรค์ดีไซน์หลากหลายรูปแบบ ช่วยให้กระบวนการทำงานรวดเร็วขึ้นและประหยัดเวลามากเมื่อเทียบกับการร่างแบบด้วยมือในทุกแนวคิด อย่างไรก็ตาม ทุกผลงานจะต้องผ่านการตรวจสอบ แก้ไข และปรับแต่ง เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นไปตามวิสัยทัศน์ของผม AI ไม่ได้มาแทนที่นักออกแบบ แต่เป็นเครื่องมือที่ช่วยเสริมศักยภาพในการสร้างสรรค์งาน
บ่อยครั้งมีความเข้าใจผิดว่า การใช้ AI จะลดบทบาทของนักออกแบบลง แต่ผมมองต่างออกไป AI ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่มันได้รับการฝึกฝน และในกรณีของผม ชุดข้อมูลเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นด้วยการค้นคว้า การลงสี และการเตรียมการอย่างพิถีพิถัน AI จึงทำงานอยู่ในกรอบที่ผมสร้างขึ้น และสะท้อนถึงความเชี่ยวชาญและการออกแบบของผม AI ควรถูกมองว่าเป็นเครื่องมือ เช่นเดียวกับแปรงวาดภาพหรือจักรเย็บผ้าที่ช่วยให้นักออกแบบสร้างงาน ไม่ใช่สิ่งที่มากำหนดชิ้นงานแทนเรา
ลองจินตนาการถึง Downton Abbey ในเวอร์ชันไทย ที่เกิดขึ้นในยุค 1920 ชุดเครื่องแต่งกายจะต้องสะท้อนถึงความงามของยุคนั้น พร้อมทั้งเน้นย้ำถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของไทย และด้วยความช่วยเหลือจาก AI กระบวนการออกแบบชุดเหล่านี้จะง่ายขึ้นและเต็มไปด้วยจินตนาการ ผมเข้าใจว่าทำไมบางสตูดิโอภาพยนตร์ถึงลังเลที่จะให้ใช้ AI ในการออกแบบเครื่องแต่งกาย เนื่องจากข้อกังวลเรื่องลิขสิทธิ์ แต่เมื่อเราใช้ชุดข้อมูลของเราเองและควบคุมกระบวนการสร้างสรรค์ ผลงานที่ได้ก็เป็นของเราโดยสมบูรณ์ เช่นเดียวกับภาพวาดที่เป็นของจิตรกร ไม่ใช่บริษัทที่ผลิตสี
ด้านล่างนี้คือตัวอย่างผลงานของผม ซึ่งแสดงการเปรียบเทียบระหว่างดีไซน์ที่ได้แรงบันดาลใจจากตะวันตกและการปรับเปลี่ยนให้เป็นแบบไทย ผลงานเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงพลังของ AI ที่ช่วยผสมผสานมรดกทางวัฒนธรรมเข้ากับความงามในอดีต และเปิดโอกาสอันไร้ขีดจำกัดสำหรับการออกแบบเครื่องแต่งกายในวงการภาพยนตร์และโทรทัศน์
การนำ AI มาผสมผสานในกระบวนการสร้างสรรค์ไม่ได้ทำให้เราสูญเสียแก่นของการออกแบบ แต่กลับเป็นการขยายขอบเขตของเราให้กว้างขึ้น ด้วยการฝึกฝน การเตรียมการ และการใช้อย่างมีจุดมุ่งหมาย AI จึงกลายเป็นพันธมิตรที่ทรงพลังในการสร้างวิสัยทัศน์ของเราให้เป็นจริง
#aifashionlab #AI #aiartist #aiart #aifashion #aifashiondesign #aifashionstyling #aifashiondesigner #fashion #fashionhistory #historyoffashion #fashionstyling #fashionphotography #digitalfashion #digitalfashiondesign #digitalcostumedesign #digitaldesign #digitalaiart #promptography #promptographer #prompts #fashionpromptography























































































