ศักยภาพของ AI ในการออกแบบเครื่องแต่งกายภาพยนตร์

ศักยภาพของ AI ในการออกแบบเครื่องแต่งกายภาพยนตร์: การผสมผสานเทคโนโลยีกับความคิดสร้างสรรค์

ในฐานะนักออกแบบเครื่องแต่งกายที่ทำงานในวงการภาพยนตร์ที่ลอนดอน การนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานได้กลายเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการทำงานของผม โดยเฉพาะในโปรเจกต์ล่าสุดที่ต้องออกแบบชุดสำหรับภาพยนตร์ซึ่งมีฉากหลังเป็นกรุงลอนดอนในช่วงทศวรรษ 1930 หนึ่งในตัวละครหลักของเรื่องสวมเครื่องแต่งกายสุภาพบุรุษสไตล์ "morning suit" แบบดั้งเดิมของยุค 1930 ซึ่งต้องการความแม่นยำทั้งด้านรูปแบบ โครงสร้าง และอารมณ์ของยุคสมัย

การทำงานครั้งนี้ ผมใช้เครื่องมือ AI ทั้งหมดห้าแอปพลิเคชันร่วมกัน เริ่มต้นจาก Midjourney ในการสร้างภาพเบื้องต้นของเครื่องแต่งกาย โดยอ้างอิงจาก image prompt ซึ่งเป็นวิธีที่ให้ผลลัพธ์แม่นยำและตรงกับสไตล์มากกว่าการใช้ข้อความเพียงอย่างเดียว (text-to-image prompting) การใช้ image prompt เหมาะอย่างยิ่งในการสร้าง mood board และออกแบบองค์ประกอบภาพอย่างมีทิศทาง เนื่องจากสามารถควบคุมอารมณ์ แสง สี และลักษณะของยุคสมัยได้ดีกว่า ช่วยลดความเสี่ยงที่ AI จะจินตนาการเกินไปจากสิ่งที่เราต้องการ

จากนั้น ผมนำภาพไปต่อยอดใน Editor Suite เพื่อปรับบริบทของฉากหลังให้เข้ากับลอนดอนในยุค 1930 แล้วใช้ Magnificเพื่อปรับความคมชัดของภาพให้สมจริง ตามด้วย FaceSwap เพื่อแทนที่ใบหน้าให้ตรงกับนักแสดงจริง ผมยังใช้ Flux Redux ในการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงรายละเอียดของการออกแบบบางส่วนในภาพเดิมได้อย่างยืดหยุ่น และสุดท้ายใช้ Kling เพื่อสร้างภาพเคลื่อนไหวให้เห็นลักษณะของชุดเมื่ออยู่บนร่างกายของนักแสดงจริง ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการนำเสนอในขั้นตอนพรีเซนต์แนวคิด

การใช้ AI ยังช่วยให้ผมประหยัดเวลาอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับวิธีดั้งเดิมที่นักออกแบบเครื่องแต่งกายหลายคนยังใช้กันอยู่ นั่นคือการให้ costume illustrator วาดภาพประกอบอย่างละเอียด ซึ่งใช้เวลานานในแต่ละชุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อแนวคิดยังไม่ชัดเจนหรือมีการเปลี่ยนบ่อยๆ

แม้ในบางสตูดิโอจะยังไม่อนุญาตให้ใช้ AI ในขั้นตอนออกแบบด้วยเหตุผลด้านลิขสิทธิ์ แต่ผมพบว่า หากเราเป็นผู้ฝึกโมเดลเอง เช่น การฝึก LoRA (Low-Rank Adaptation) โดยใช้ชุดภาพที่เราสร้างขึ้นเองทั้งหมด ก็เท่ากับว่าเราควบคุมชุดข้อมูลต้นทางได้ทั้งหมด และภาพที่ได้จากการสร้างด้วย AI เหล่านี้ก็คือผลลัพธ์จาก “ข้อมูลป้อนเข้าของเราเอง” ซึ่งผมถือว่าเป็นผลงานการออกแบบของเราจริงๆ เพียงแค่ได้ AI มาช่วยแสดงผลให้เห็นอย่างรวดเร็ว แทนที่จะต้องให้ช่างวาดลงมือร่างทุกแบบด้วยมือ

ในกระบวนการออกแบบเครื่องแต่งกายย้อนยุคของผมในหลายโปรเจกต์ที่ผ่านมา ผมจึงใช้ LoRA ที่ผมฝึกเองเพื่อทดลองแนวคิดต่างๆ และสร้างทางเลือกในการออกแบบเพิ่มเติมได้อย่างรวดเร็ว ยืดหยุ่น และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของโปรดักชัน

หัวใจของการใช้ AI ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดคือ “การเข้าใจโครงร่างเงาของแฟชั่นในแต่ละยุคสมัยและความชัดเจนของวิสัยทัศน์” ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโครงร่าง รายละเอียดการตกแต่ง หรือสไตล์โดยรวมของเครื่องแต่งกาย รวมถึงการกำหนดแสง สี และองค์ประกอบของฉากให้สอดคล้องกับบรรยากาศของภาพยนตร์

AI ไม่ได้มาแทนที่นักออกแบบ แต่มันคือ “พันธมิตรทางความคิดสร้างสรรค์” ที่ช่วยเราขยายขอบเขตของสิ่งที่เราสามารถทำได้ในเวลาอันสั้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่ต้องอาศัยการสื่อสารด้วยภาพอย่างรวดเร็วและแม่นยำ AI ช่วยให้เรานำเสนอแนวคิดได้ทันที ตอบโจทย์การทำงานร่วมกับผู้กำกับ ผู้อำนวยการสร้าง และทีมศิลป์อื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Exploring the Power of AI in Costume Design for Film

As a costume designer working in the London film industry, integrating AI into my creative process has become a vital part of my workflow. In a recent project set in 1930s London, I was tasked with designing period-accurate costumes — one of the main characters wears a traditional morning suit, a quintessential 1930s menswear look. The design needed to be historically precise in silhouette, structure, and mood.

For this work, I used five AI applications in combination. I started with Midjourney to generate base costume visuals using image prompts, which produce far more accurate results than relying solely on text-to-image prompting. Image prompting is especially useful for creating mood boards and establishing visual direction, as it allows better control over mood, lighting, colour, and historical references, reducing the risk of AI generating off-style results.

Next, I brought the image into Editor Suite to create a 1930s London backdrop, then enhanced clarity and texture realism using Magnific. I used FaceSwap to match the actor’s likeness and Flux Redux to adjust or replace parts of the design within the same image — a flexible way to experiment with variations quickly. Finally, I used Kling to animate the costume, showing how it moves on the actor’s body, which is incredibly helpful when presenting ideas during pre-production.

One major advantage of using AI in this process is time efficiency. Many traditional costume designers I’ve worked with still rely on costume illustrators to render each complex idea — a time-consuming process, especially when the design evolves. With AI, the process becomes much faster while still allowing artistic control and iteration.

Although some studios still restrict AI use due to copyright concerns, I believe that if we train our own models or LoRA (Low-Rank Adaptation) using datasets composed entirely of our own images, then the generated results are essentially our original designs. It’s our creative input — just visualised faster by AI instead of relying on hand-drawn illustrations for every design.

In my recent period costume project, I’ve used my own LoRA training models to explore design ideas and generate multiple options efficiently. It allows for flexible visual testing and supports alignment with the broader creative vision of the production.

Ultimately, understanding fashion silhouettes of each era and having a clear design vision are the keys to using AI effectively — whether it’s through shape, detail, or style. AI can also be directed to reference lighting, cinematic framing, or a cinematographer’s visual tone to ensure stylistic coherence.

AI is not here to replace costume designers. Rather, it has become a “creative partner” — helping us expand the boundaries of what’s possible in a short amount of time. In an industry where strong visual communication is essential, AI enables us to present design concepts immediately, supporting collaboration with directors, producers, and the art department more efficiently.

#aifashionlab #AI #aiartist #aiart #aifashion #aifashiondesign #aifashionstyling #aifashiondesigner #fashion #fashionhistory #historyoffashion #fashionstyling #fashionphotography #digitalfashion #digitalfashiondesign #digitalcostumedesign #digitaldesign #digitalaiart #ThaiFashionHistory #ThaiFashionAI #flux #fluxlora

Previous
Previous

แฟชั่นสตรีล้านนาในสมัยรัชกาลที่ ๕

Next
Next

แฟชั่นแม่ญิงลาวตามแบบราชสำนักหลวงพระบาง: ในช่วงทศวรรษที่ 1920