แฟชั่นเครื่องแต่งกายสตรีชาวเชียงใหม่ในยุค 1960 (ทศวรรษ 2500): ความงามของสตรีล้านนา

แฟชั่นเครื่องแต่งกายสตรีชาวเชียงใหม่ในทศวรรษ 2500: ความงามของสตรีล้านนา

เครื่องแต่งกายแบบดั้งเดิมของสตรีชาวเชียงใหม่ในช่วงทศวรรษ 2500 (ยุค 1960s) ยังคงความงามสง่างามมาจนถึงปัจจุปันจากรูปแบบเครื่องแต่งกายที่วางรากฐานมาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 2460 เครื่องแต่งกายล้านนาอันเป็นเอกลักษณ์นี้ ซึ่งมักเห็นได้ในงานฟ้อนเล็บหรือฟ้อนพื้นเมืองของภาคเหนือ มิใช่เพียงสัญลักษณ์แห่งอัตลักษณ์ประจำถิ่น แต่ยังถือเป็นเครื่องแต่งกายทางการสำหรับโอกาสอันสำคัญ โดยเฉพาะในหมู่ชนชั้นสูงและเจ้านายฝ่ายเหนือ

เครื่องแต่งกาย: หัวใจสำคัญของการแต่งกายประกอบด้วยเสื้อไหมแขนยาวกระชับลำตัว สวมคู่กับผ้าซิ่นแบบยาวทอลวดลายท้องถิ่น เช่น ซิ่นต๋า ซึ่งมีลายริ้วแนวนอน หรือลวดลายประณีตจาก ผ้าไหมยกดอกลำพูน ที่ทอยกดอกด้วยดิ้นเงินดิ้นทอง อันสะท้อนถึงความประณีตและรสนิยมของหญิงล้านนา

เสื้อแขนกระบอกมักมีคอปกตั้งคล้ายเสื้อราชปะแตนหรือคอจีน ตัดเย็บเข้ารูปและสวมทับด้วยสะไบผ้าบางเบา เช่น ผ้าชีฟองหรือออร์แกนซา ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ มักประดับด้วยเข็มกลัดทองหรือเงินและใส่พร้อมสังวาลย์เงินหรือทอง

ทรงผมและเครื่องประดับ: จุดเด่นอีกประการหนึ่งของการแต่งกายสไตล์เชียงใหม่คือการเกล้าผมแบบ มวยผมสูง ซึ่งสตรีในยุคนั้นนิยมเกล้าผมสูงตามแบบทรงผมสตรีในยุค 1960 แต่ยังคงความเป็นล้านนาไว้ได้อย่างลงตัว การประดับผมด้วยดอกเอิ้องหรือกล้วยไม้ หรือ ปิ่นปักผมดอกไม้ไหวเงินหรือทอง เป็นเอกลักษณ์อันชัดเจนของสตรีล้านนา ซึ่งเมื่อขยับกายจะพลิ้วไหวอย่างอ่อนช้อย เพิ่มความสง่างามให้กับผู้สวมใส่

การแต่งกายแบบเชียงใหม่ปรากฏอย่างเป็นทางการในโอกาสสำคัญ โดยเฉพาะในงานรับเสด็จพระบรมวงศานุวงศ์ โดยหนึ่งในเหตุการณ์ที่สำคัญยิ่งคือใน เดือนตุลาคม พุทธศักราช 2506 เมื่อ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ แปรพระราชฐาน มาประทับ ณ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ บนดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ เหล่าเจ้านายฝ่ายเหนือได้จัดงานถวายการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติ สตรีชั้นสูงในท้องถิ่นต่างแต่งกายด้วยชุดไทยแบบเชียงใหม่ และมีการแสดง ฟ้อนเล็บ ถวายหน้าพระที่นั่ง หนึ่งในบุคคลสำคัญที่เข้าร่วมรับเสด็จครั้งนั้น ได้แก่ เจ้าดารารัตน์ ณ ลำพูน ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจสำคัญของชุดในคอลเลกชันนี้

ถึงแม้เครื่องแต่งกายของสตรีเชียงใหม่จะมีรากฐานยาวนานหลายทศวรรษ แต่เครื่องแต่งกายของสไตล์นี้ยังคงความร่วมสมัย และสามารถปรับให้เข้ากับยุคสมัยได้โดยไม่สูญเสียอัตลักษณ์ความเป็นล้านนา แม้มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในรายละเอียดในปัจจุปัน แต่ความงามและวัฒนธรรมการแต่งกายยังคงเก็บรักษาไว้ได้อย่างดี

ภาพถ่ายสองภาพแรกในชุดนี้คือภาพต้นฉบับจากยุคดังกล่าว ภาพแรกเป็นภาพของเจ้าดารารัตน์ ณ ลำพูน ในชุดไทยแบบล้านนา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความงามอันเป็นธรรมชาติของสตรีล้านนาในยุค 2500 ส่วนภาพที่เหลือเป็นผลงานที่สร้างขึ้นจากเทคโนโลยี AI โดยได้รับแรงบันดาลใจจากรูปแบบการแต่งกายของหญิงเชียงใหม่ในอดีต เพื่อร่วมอนุรักษ์และสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมนี้ให้คงอยู่ต่อไป


Chiang Mai Women's Traditional Dress in the 1960s: A Continuation of Northern Elegance

The traditional attire worn by women in Chiang Mai during the 1960s was a refined and elegant continuation of a style that had been firmly established since the 1920s. This distinctive northern Thai look—often seen in cultural dance performances such as the Fon Lep (nail dance)—was not only a symbol of regional identity but also the official attire for formal occasions, particularly among the aristocracy and the ruling families of Lanna heritage.

The Silhouette and Textiles

The core of the Chiang Mai woman’s traditional outfit in the 1960s consisted of a delicate silk blouse paired with a pha sin (ผ้าซิ่น)—a tubular skirt woven from local silk. The most commonly used designs included the sin ta (ซิ่นต๋า), which featured horizontal stripes, or the exquisite pha mai yok dok Lamphun (ผ้าไหมยกดอกลำพูน), a brocade silk woven with intricate floral motifs. These fabrics were cherished for their craftsmanship and subtle elegance, and they reflected both tradition and regional pride.

The blouse was typically close-fitting, with long sleeves and a mandarin-style collar, echoing both practicality and modesty. A sheer shoulder sash made from soft fabrics such as chiffon or organza was draped elegantly across the torso—an essential element of the look. This sash was often secured with a gold or silver pin, sometimes adorned with filigree work or gemstones.

Hairstyle and Ornaments

A defining feature of the Chiang Mai style was the upswept hairstyle. Women would wear their hair in a high bun, smoothed and secured tightly in a manner influenced by 1960s beauty trends, yet rooted in northern tradition. This classic hairstyle was elevated by floral adornments—either fresh wild orchids or an ornamental puen pak phom dok mai wai (ปิ่นปักผมดอกไม้ไหว), a decorative hairpin crafted in silver or gold that swayed delicately with movement. These ornamental pins were a hallmark of Lanna elegance, their shimmer and sway adding a touch of grace to the overall look.

Formal Occasions and Royal Visits

This traditional dress reached a peak of ceremonial significance during royal visits. A notable instance occurred in October 1963, when Their Majesties King Bhumibol Adulyadej and Queen Sirikit made a royal stay (prae phra ratchathan) at Phuping Rajanives Palace (Phra Tamnak Phuping Ratchaniwet) on Doi Suthep in Chiang Mai. In honour of the occasion, the local nobility, including members of the ruling families of the North, hosted a grand reception. Women appeared in their finest traditional Chiang Mai attire, and a formal Fon Lep performance was presented to the royal guests. Among the prominent figures who welcomed the royal entourage were women such as Khunying Chao Dararat na Lamphun, whose style served as an inspiration for this very collection.

A Timeless Legacy

Though shaped by decades of continuity, the Chiang Mai woman’s traditional attire retained a relevance and adaptability that endured through the mid-20th century. The designs were not frozen in time but subtly evolved—blending tradition with touches of modernity while remaining faithful to Lanna aesthetics.

The first two photographs in this collection represent original vintage portraits from the period, showcasing the true grace of the 1960s northern Thai woman. The remaining images are AI-enhanced recreations, inspired by that same era and honouring the legacy of the Chiang Mai aristocracy and their enduring sense of style.

#aifashionlab #AI #aiartist #aiart #aifashion #aifashiondesign #aifashionstyling #aifashiondesigner #fashion #fashionhistory #historyoffashion #fashionstyling #fashionphotography #digitalfashion #digitalfashiondesign #digitalcostumedesign #digitaldesign #digitalaiart #ThaiFashionHistory #ThaiFashionAI #flux #fluxlora


Previous
Previous

ประวัติศาสตร์การแต่งกายแม่ญิงเจียงใหม่ในยุค 1960s กับบริบทขบวนแห่คัวตานในงานปอยหลวง

Next
Next

แฟชั่นสไตล์ยุค 1970 ของ อาภัสรา หงสกุล ในมุมมองใหม่