เสื้อบ่าห้อย และจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 6: แฟชั่นสไตล์ Art Deco แห่งนครลำปาง

เสื้อบ่าห้อย และจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 6: แฟชั่นสไตล์ Art Deco แห่งนครลำปาง

คอลเลกชันภาพแฟชั่นที่สร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) นี้ ได้รับแรงบันดาลใจจากโพสต์ของ กลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม กองโบราณคดี กรมศิลปากร ซึ่งนำเสนอรายละเอียดจากจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ วัดบุญวาทย์วิหาร จังหวัดลำปาง โดยเฉพาะภาพของหญิงสาวชาวลำปางที่สวมเสื้อบ่าห้อย (เสื้อคอกระเช้า) คู่กับผ้าซิ่นลายทางหรือ ซิ่นต๋า และไว้ผมสั้นลอนคลื่น ซึ่งสะท้อนอิทธิพลแฟชั่นสมัยใหม่แบบตะวันตกในช่วงทศวรรษ 1920 (ยุคฟลัปเปอร์ หรือยุค art deco) แต่ปรับให้เข้ากับบริบทของภาคเหนือในขณะนั้น

หญิงสาวในจิตรกรรมฝาผนังเหล่านี้ไม่ใช่ตัวละครหลักของภาพจิตรกรรม ซึ่งมักแสดงให้เห็นพระสงฆ์หรือเจ้านายชั้นสูงในเครื่องแต่งกายแบบราชสำนัก เช่น โจงกระเบน และเสื้อราชปะแตน ตามแบบการวาดแบบรัตนโกสินทร์ แต่ภาพของหญิงสามัญชนทั่วไป และเล่าเรื่องราวในชีวิตประจำวันซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพราะแสดงถึงวิถีชีวิตและรสนิยมของผู้หญิงท้องถิ่นในยุคนั้นได้อย่างชัดเจน คอลเลกชัน AI นี้จึงไม่ได้มุ่งหมายจะจำลองภาพบุคคลเหล่านั้นโดยตรง แต่เป็นการจินตนาการบรรยากาศร่วมสมัยในเมืองลำปางช่วงสมัยรัชกาลที่ 6 ว่าอาจมีอิทธิพลต่อแนวคิดในการเขียนภาพของช่างปวนอย่างไร

ในระดับโลก แฟชั่นของผู้หญิงในยุค 1920 มีลักษณะเน้นความสบาย ลดทอนการแต่งตัวของหญิงแบบวิคตอเรียและเอ็ดวอร์เดียน ซึ่งนำมาสู่การสวมใส่ เสื้อผ้าที่หลวม ชายเสื้อยาว เอวต่ำ และหลีกเลี่ยงโครงสร้างที่รัดแน่นแบบคอร์เซ็ต เดรสแบบฟลัปเปอร์มักสวมทับเสื้อซับในหรือเสื้อกล้าม ในบริบทของไทย โดยเฉพาะในเมืองร้อนอย่างลำปาง เสื้อผ้าเหล่านี้ถูกปรับให้ง่ายขึ้น เสื้อบ่าห้อยจึงทำหน้าที่คล้ายเสื้อชั้นในแบบฝรั่ง แต่สามารถใส่เดี่ยวได้โดยไม่ต้องมีเสื้อชั้นในหลายชั้น และเมื่อจับคู่กับผ้าซิ่น ก็ยังคงรักษาความเป็นผู้หญิงแบบล้านนาไว้ ขณะที่ทรงผมลอนคลื่นแบบบ็อบช่วยเสริมภาพลักษณ์ของหญิงสาวรุ่นใหม่ที่ทันสมัยและมั่นใจ

ป. สุวรรณสิงห์ หรือ นายปวน สุวรรณสิงห์ (พ.ศ. 2440–2508) หรือช่างปวน เป็นชาวลำปางเชื้อสายพม่า เริ่มต้นจากการเป็นช่างเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง ก่อนที่จะผันตัวมารับออกแบบป้ายร้านค้าและเขียนตัวอักษรไทยแบบประดิษฐ์ในช่วงบั้นปลายชีวิต โดยทำงานอยู่ที่บ้านไม้เช่าใกล้ศาลหลักเมืองลำปาง ช่วงวัยหนุ่ม ช่างปวนได้เป็นลูกศิษย์ของ พระยาอนุศาสน์จิตรกร จิตรกรชั้นสูงจากกรุงเทพฯ ซึ่งได้รับคำสั่งจากเจ้าหลวงบุญวาทย์วงษ์มานิต ให้มาช่วยจัดวางองค์ประกอบและถ่ายทอดเทคนิคศิลปะรัตนโกสินทร์ในการสร้างวัดบุญวาทย์

จิตรกรรมฝาผนังของ ช่างปวนไม่ได้ปรากฏอยู่เฉพาะที่วัดบุญวาทย์เท่านั้น หากแต่ยังพบได้ในวัดต่าง ๆ ทั่วจังหวัดลำปางและพื้นที่ใกล้เคียง ผลงานของเขาสะท้อนการผสมผสานระหว่างองค์ความรู้ด้านทัศนศิลป์ของช่างหลวงจากกรุงเทพฯ กับบรรยากาศเรียบง่าย อบอุ่น และเปี่ยมชีวิตชีวาของวิถีชีวิตชาวบ้านล้านนาได้อย่างกลมกลืน

หากเปรียบเทียบกับภาพจิตรกรรมในวัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ หรือวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน ซึ่งมักเน้นฉากราชสำนักในอุดมคติ ภาพเขียนของช่างปวนกลับให้พื้นที่กับผู้คนในชีวิตประจำวัน เช่น หญิงสาวในเสื้อบ่าห้อย คนเดินตลาด หรือชาวบ้านที่มาทำบุญในวัด ซึ่งถูกถ่ายทอดด้วยอารมณ์ที่ละเมียดละไมและสมจริง สะท้อนให้เห็นความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง งานจิตกรรมฝาผนังของช่างปวนจึงถือเป็นช่วงปลายของจิตรกรรมไทยแนวประเพณีนิยม ก่อนที่งานศิลปะไทยจะเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคสมัยใหม่อย่างเต็มตัว และนับว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญทั้งในเชิงภาพและวัฒนธรรม

จังหวัดลำปางเองมี “สกุลช่างจิตรกรรม” ที่โดดเด่น โดยผสมผสานฝีมือของช่างพื้นบ้านล้านนาเข้ากับองค์ประกอบภาพแบบรัตนโกสินทร์อย่างมีเอกลักษณ์ งานของช่างปวนจึงถือเป็นตัวแทนของจิตรกรรมฝาผนังไทยในยุคสุดท้ายของแนวคลาสสิก ต่อเนื่องจากกลุ่มวัดพระสิงห์ วัดบวกครกหลวง จังหวัดเชียงใหม่ และวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน ก่อนที่จิตรกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่แนวสมัยใหม่ในเวลาต่อมา

ช่างปวนได้รับการฝึกฝนด้วยเทคนิคที่ถ่ายทอดจากสายช่างรัตนโกสินทร์โดยตรง เช่น การใช้สีฝุ่นผสมน้ำปูน การวาดภาพด้วยมุมมองแบบ bird’s-eye view (มองจากด้านบน) การลงทองคำเปลวบนเครื่องทรงของตัวละครสำคัญ และเทคนิคเฉพาะอย่างการใช้เปลือกไม้กระดังงาตบสีเป็นก้อน เพื่อสร้างใบไม้และพุ่มไม้ให้ดูมีมิติและมีชีวิต

ลักษณะการแต่งกายที่ปรากฏในภาพมักเป็นแบบราชสำนัก เช่น ชายในโจงกระเบนและเสื้อราชปะแตน หญิงในสไบเฉียงและเกล้าผมมวยสูง ทว่าก็มีบางครั้งที่ภาพชาวบ้านแต่งกายเรียบง่าย เช่น เสื้อบ่าห้อย ปรากฏขึ้นแทรกอยู่ในฉาก แม้มักไม่ใช่ตัวละครหลักก็ตาม

ซึ่งแตกต่างจากจิตรกรรมพื้นถิ่นล้านนาในวัดอื่น ๆ เช่น วัดพระสิงห์ หรือวัดภูมินทร์ ที่แสดงภาพชายมีรอยสัก หรือภาพชายหญิงสูบบุหรี่แบบ “ขี้โย” อันเป็นวิถีชีวิตของชาวบ้านล้านนาโดยตรง งานของช่างปวนกลับสะท้อนอิทธิพลของผู้ควบคุมงานเขียนคือ พระยาอนุศาสน์จิตรกร ซึ่งเป็นช่างหลวงจากกรุงเทพฯ ที่เน้นความเรียบร้อย สมบูรณ์แบบ และตามคตินิยมของราชสำนัก แม้งานของช่างปวนจะรับแนวทางนี้ แต่ก็สามารถเชื่อมโยงกับความจริงของชีวิตผู้คนท้องถิ่นได้อย่างกลมกลืน

จิตรกรรมของช่างปวนจึงดำรงอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านทางศิลปะระหว่างโลกอุดมคติของกรุงเทพฯ กับโลกชีวิตจริงของล้านนา และนั่นเองคือสิ่งที่ทำให้ผลงานของเขามีคุณค่าและน่าสนใจอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ศิลปะไทย

คอลเลกชันภาพนี้เป็นความพยายามในการสื่อสารอดีตผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยมองแฟชั่นเป็นภาษาทางวัฒนธรรมที่สะท้อนทั้งอัตลักษณ์และการเปลี่ยนผ่านสู่ความทันสมัย ผ่านเสื้อผ้า ทรงผม และอิริยาบถของผู้หญิงสามัญชนบนผนังโบสถ์ในเมืองลำปาง ดินแดนล้านนา เมื่อร้อยปีก่อน

Seua Ba Hoi and Mural Elegance of the Sixth Reign: Art Deco Fashion in Lampang

This AI-generated fashion collection was inspired by a post from the Conservation of Mural Paintings and Sculptures Group, Fine Arts Department of Thailand, which highlighted the understated beauty of seua ba hoi (เสื้อบ่าห้อย)—a sleeveless blouse with delicate button details—paired with pha-sin (ผ้าซิ่น), as seen in mural paintings inside the ordination hall (ubosot - อุโบสถ) of Wat Bunyawat Vihan, Lampang. These murals depict women with softly waved bobbed hair, dressed in a style that appears strikingly modern for the time—recalling the global flapper aesthetic of the 1920s. Their appearance, though subtle and peripheral in the murals, offers a rare visual record of early 20th-century northern Thai femininity, modesty, and modernity.

These women were not the primary subjects of the murals, which typically portrayed monks, nobles, and religious figures in formal courtly attire such as joong kraben (โจงกระเบน) and raj-pattern jackets (เสื้อราชปะแตน). And yet, their quiet presence—stylish but not ostentatious—raises intriguing questions: were they daughters of local merchants, temple patrons, or early adopters of modern trends in dress? Rather than attempt a literal reconstruction, this AI collection reimagines the cultural atmosphere of Lampang during the late reign of King Rama VI (r.1910–1925), evoking the aesthetic spirit that may have inspired the brush of the muralist.

Globally, the fashion silhouette of the 1920s marked a departure from the restrictive corsets and heavy layering of the previous era. Flapper fashion featured a looser, androgynous line—dropped waistlines, lightweight fabrics, and undergarments like chemises and camisoles worn beneath simple dresses. In Thailand, and particularly in a warm northern city like Lampang, these styles were adapted for comfort and practicality. The seua ba hoi (เสื้อบ่าห้อย) closely resembles a camisole blouse, worn without additional layers due to the tropical climate. Paired with a woven pha-sin (ผ้าซิ่น), this ensemble became a vernacular interpretation of modern femininity—light, breathable, modest, and elegant. The hairstyle—short, curled, and confidently parted—further connected these women to an emerging global modernity.

At the centre of this visual legacy is Paun Suwannasingh (ป. สุวรรณสิงห์), born in 1897 to a Burmese family in Lampang. He was not only a master muralist but later also a designer of hand-painted shop signs and custom Thai typefaces, working from his modest wooden home near the Lampang City Pillar Shrine (ศาลหลักเมือง). His formative training came under the esteemed Phraya Anusatsanuchitrakorn (พระยาอนุศาสน์จิตรกร), a court artist sent from Bangkok to help shape the visual programme of Wat Bunyawat. As a young apprentice in his twenties, Paun absorbed the techniques of the Rattanakosin (รัตนโกสินทร์) tradition—bird’s-eye perspective, lime-based pigments, gold leaf highlights, and ornate architectural framing.

Paun Suwannasingh’s murals are not only found at Wat Bunyawat but are also present across various temples throughout Lampang and nearby provinces. His work reflects a distinctive fusion between the formal visual grammar of Bangkok’s court painters and the lively, down-to-earth atmosphere of everyday Lanna village life. In contrast to the murals of Wat Phra Singh in Chiang Mai or Wat Phumin in Nan—both of which often depict idealised royal court scenes—Paun’s compositions open a window into the daily lives of ordinary people: women in seua ba hoi, market-goers, and local devotees rendered with warmth, realism, and humanity. His legacy marks the final chapter of traditional Thai mural painting before the transition to modernist art, serving as a visual and cultural threshold.

Lampang, in particular, is home to a unique local school of mural painting that blends the skill of northern folk artisans with the compositional sophistication of the Rattanakosin style. This school of painting followed the generation of classic masterpieces, such as the murals of Wat Phra Singh and Wat Buak Krok Luang in Chiang Mai, and Wat Phumin in Nan. Paun’s work can thus be seen as one of the last great expressions of classical Thai muralism—a final flourish before the full emergence of modern Thai painting.

His training included a range of highly specialised techniques passed down from the Rattanakosin tradition. Among these was the use of powdered colours mixed with lime plaster, the “bird’s-eye” compositional perspective, and the application of gold leaf to highlight the costumes of central characters. A particularly charming technique involved dabbing clumps of colour with kradungnga bark to create textured, lively trees. Costuming in his murals typically reflected the formal Siamese dress codes of the era: men in jong kraben and raj-pattern jackets, and women in sabai wraps and chignons. Occasionally, however, glimpses of local villagers wearing more casual attire—such as the seua ba hoi—would appear, although these were rarely given prominence.

Unlike other regional murals, such as those in Wat Phra Singh or Wat Phumin, there are no depictions of men with tattooed bodies or villagers smoking pipes—both common sights in northern daily life. The absence of these elements reflects the influence of his teacher and artistic director, Phraya Anusatsanuchitrakorn, who maintained a focus on formality, idealisation, and Bangkok court aesthetics even when guiding local artists. As such, Paun’s murals exist in a fascinating artistic tension—bridging the cultural ideals of the capital with the quiet authenticity of rural life.

Through this AI collection, we pay homage to that threshold—where modernity brushed against tradition, where rural women appeared on temple walls not only as devotees, but as cultural icons in their own right. These reimagined portraits do not recreate history, but rather explore the aesthetic dialogue between past and present, tradition and adaptation, modesty and modernism—through the lens of fashion as memory.

#aifashionlab #AI #aiartist #aiart #aifashion #aifashiondesign #aifashionstyling #aifashiondesigner #fashion #fashionhistory #historyoffashion #fashionstyling #fashionphotography #digitalfashion #digitalfashiondesign #digitalcostumedesign #digitaldesign #digitalaiart #ThaiFashionHistory #ThaiFashionAI #flux #fluxlora

Previous
Previous

แฟชั่นสไตล์ยุค 1970 ของ อาภัสรา หงสกุล ในมุมมองใหม่

Next
Next

"ปูลีขี้โย" วัฒนธรรมการสูบยา-อมเหมี้ยงของชาวล้านนา