แฟชั่นแอนโดรจีนัสของจารุณี สุขสวัสดิ์: สไตล์ที่ไร้กาลเวลา
รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ปี พ.ศ. 2523 จารุณี สุขสวัสดิ์ ได้รับรางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมจากภาพยนตร์เรื่อง ช่างเขาเถอะ และเปียทิพย์ คุ้มวงศ์ ได้รับรางวัลนักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง อาอี๊
แฟชั่นแอนโดรจีนัสของจารุณี สุขสวัสดิ์: สไตล์ที่ไร้กาลเวลา
ทศวรรษ 1970 เป็นยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านจากแนวคิดอนุรักษนิยม โดยเฉพาะในวงการแฟชั่น ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ขอบเขตระหว่างเสื้อผ้าของเพศชายและหญิงเริ่มเลือนลางมากขึ้น และสไตล์แบบแอนโดรจีนัส (androgynous) ก็ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ในขณะเดียวกันแฟชั่นดีไซเนอร์ก็ท้าทายการตีความของความเป็นผู้หญิงสมัยใหม่ ทักซิโด Le Smoking ของ Yves Saint Laurent กลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญของการเปลี่ยนแปลงค่านิยมนี้ โดยมอบทางเลือกที่ทรงพลัง สง่างาม และแฝงไปด้วยความขบถ แทนที่การสวมชุดราตรีแบบเดิม ๆ
กระแสแฟชั่นแอนโดรจีนัสนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในโลกตะวันตก แต่ยังมีอิทธิพลไปทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย หนึ่งในภาพที่เป็นไอคอนนิกและตอกย้ำเทรนด์นี้ในวงการแฟชั่นไทย คือภาพของ จารุณี สุขสวัสดิ์ ในงานประกาศรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ปี พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) ซึ่งได้รับรางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมจากภาพยนตร์เรื่อง ช่างเขาเถอะ จารุณีเลือกสวมทักซิโดที่สะท้อนถึงความลื่นไหลทางเพศของยุคนั้น ลุคของเธอประกอบด้วยโบว์หูกระต่ายขนาดใหญ่ เสื้อสูททักซิโดแบบกากเพรช และปกเสื้อสูทแบบปกกล้วยหอม (shawl lapel) ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจโดยตรงจาก Le Smoking ของ Yves Saint Laurent ในยุค 1960
Yves Saint Laurent เปิดตัว Le Smoking ในคอลเล็กชันฤดูใบไม้ร่วง/ฤดูหนาวปี 1966 ซึ่งเป็นการปฏิวัติวงการแฟชั่นของผู้หญิงโดยการนำทักซิโดชายมาดัดแปลงเป็นชุดที่เข้ารูปและแฝงด้วยความเป็นแอนโดรจีนัสสำหรับผู้หญิง ดีไซน์สุดล้ำนี้ประกอบด้วยเสื้อสูททักซิโดสีดำที่มีปกผ้าซาติน เสื้อเชิ้ตออร์แกนซ่าตกแต่งระบาย กางเกงเข้ารูปที่มีแถบผ้าซาตินข้างลำตัว พร้อมเครื่องประดับอย่างโบว์หูกระต่ายสีดำและคัมเมอร์บันด์ Le Smoking กลายเป็นตัวแทนของความสง่างามที่ไม่ต้องพยายามแบบแฟชั่นฝรั่งเศส และมอบทางเลือกใหม่ให้กับผู้หญิงที่ต้องการความแตกต่างจากชุดราตรีแบบเดิม ๆ
Yves aint Laurent ได้รับแรงบันดาลใจจากภาพของ Marlene Dietrich ที่สวมเสื้อผ้าผู้ชายในช่วงทศวรรษ 1930 โดยเขาเคยกล่าวไว้ว่า "ทักซิโด เบลเซอร์ หรือยูนิฟอร์มนายทหารเรือ—ผู้หญิงที่แต่งตัวเป็นผู้ชายจะต้องมีเสน่ห์ของความเป็นหญิงถึงขีดสุดเพื่อจะต่อสู้กับเครื่องแต่งกายที่ไม่ใช่ของเธอ" นอกจากนี้ นางแบบผู้เป็นมิวส์ของเขา Danielle Luquet de Saint Germain ก็มีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์ Le Smoking โดย Saint Laurent มองว่า Luquet เป็นตัวแทนของเรือนร่างและท่าทางของผู้หญิงยุคใหม่ ซึ่งช่วยให้เขาก้าวข้ามกรอบแนวคิดเก่า ๆ
ในช่วงแรก Le Smoking เผชิญกับการต่อต้าน ลูกค้ากูตูร์ของ Saint Laurent ส่วนใหญ่ยังลังเล ส่งผลให้สามารถขายได้เพียงชุดเดียวเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เวอร์ชันเรดี้ทูแวร์ภายใต้แบรนด์ SAINT LAURENT Rive Gauche ได้รับความนิยมในหมู่ผู้หญิงวัยรุ่นและวัยทำงานมากขึ้น ซึ่งสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มุ่งไปสู่ความมั่นใจและพลังของผู้หญิง
ช่างภาพ Helmut Newton เป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญที่ทำให้ Le Smoking กลายเป็นไอคอนทางแฟชั่น ภาพถ่ายของเขาในนิตยสาร French Vogue ปี 1975 มีภาพของหญิงสาวที่แต่งตัวเป็นชายในชุดสูท Le Smoking ยืนอยู่ในตรอกที่มืดมิดของปารีส ภาพนี้กลายเป็นภาพสัญลักษณ์ที่สะท้อนถึงพลัง อำนาจทางเพศ และการท้าทายบทบาททางเพศแบบดั้งเดิม ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ผู้หญิงทรงอิทธิพลมากมายได้สวมใส่ชุดสูทแบบ Le Smoking ไม่ว่าจะเป็น Catherine Deneuve, Bianca Jagger และ Lauren Bacall ซึ่งแต่ละคนได้ตีความชุดสูทนี้ในแบบของตนเอง จนทำให้ Le Smoking กลายเป็นปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมที่เป็นสัญลักษณ์ของความมั่นใจและการเสริมสร้างพลังของผู้หญิง
แนวโน้มทางประวัติศาสตร์นี้เชื่อมโยงโดยตรงกับช่วงเวลาสำคัญในการแต่งตัวเข้าร่วมงานประกาศรางวัลสุพรรณหงส์ปี 1980 ของจารุณี สุขสวัสดิ์ ชุดทักซิโดที่สวมใส่ ซึ่งมีเนื้อผ้าส่องประกายและปกเสื้อแบบกล้วยหอม สะท้อนถึงอิทธิพลที่ได้รับมาจากชุดสูท Le Smoking ความนิยมของการแต่งกายสไตล์นี้ต่อเนื่องไปจนถึงช่วงปลายทศวรรษ 1970 และต้นทศวรรษ 1980
เพื่อให้สามารถชื่นชมรายละเอียดของชุดนี้ได้อย่างครบถ้วน ผมได้ปรับแต่งภาพปกนิตยสารต้นฉบับจากภาพถ่ายครึ่งตัวให้เป็นภาพเต็มตัว ซึ่งช่วยให้เห็นโครงร่างและรายละเอียดของชุดได้อย่างสมบูรณ์แบบ และสะท้อนให้เห็นว่า Le Smoking ไม่ใช่เพียงแค่กระแสแฟชั่นชั่วคราว แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงสัญลักษณ์ที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดเรื่องการแต่งกายของผู้หญิง และยังคงส่งอิทธิพลมาจนถึงปัจจุบัน
The Evolution of Androgynous Fashion: Jarunee Suksawat’s Timeless Style
The 1970s was a decade of breaking conventions, especially in fashion. It was a time when gender boundaries in clothing became increasingly blurred, and androgynous styles gained mainstream popularity. Women embraced trousers, tailored jackets, and tuxedos—styles previously reserved for men—while designers pushed the boundaries of traditional femininity. The Le Smoking tuxedo suit by Yves Saint Laurent became a defining symbol of this shift, offering women a powerful, elegant, and rebellious alternative to evening gowns.
This androgynous fashion movement was not confined to the West; it made its mark across the world, including Thailand. One of the most iconic images that cemented this trend in Thailand’s fashion landscape was a photograph of Jarunee Suksawat (จารุณี สุขสวัสดิ์) at the 1980’s National Film Awards, Supannahong Awards (งานประกาศรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์). Receiving the Best Actress Award for her role in ช่างเขาเถอะ (Let It Be), Jarunee wore a tuxedo that epitomised the era’s gender-fluid aesthetic. The look featured a wide bow tie, shimmering fabric, and a shawl lapel—an outfit clearly inspired by Yves Saint Laurent’s famous Le Smoking suit from the 1960s.
Yves Saint Laurent introduced Le Smoking in his Autumn/Winter 1966 collection, revolutionising women's fashion by adapting the traditional male tuxedo into a sleek, androgynous ensemble for women. This groundbreaking design featured a black wool jacket with silk-satin lapels, a ruffled organza jabot blouse, and tailored trousers with satin side-stripes, accessorised with a black bow and cummerbund. It offered women a powerful and elegant alternative to traditional evening gowns, embodying the effortless chicness of French fashion.
Saint Laurent drew inspiration from various sources, including images of Marlene Dietrich wearing men's clothing in the 1930s. He remarked, "A tuxedo, a blazer or a naval officer’s uniform—a woman dressed as a man must be at the height of femininity to fight against a costume that isn’t hers." Additionally, his muse, model Danielle Luquet de Saint Germain, influenced the creation of Le Smoking. Saint Laurent noted that Luquet represented the body and gestures of modern women, helping him move past outdated references.
Initially, Le Smoking faced resistance; Saint Laurent's couture clients were hesitant, resulting in only one sale. However, the ready-to-wear version under the SAINT LAURENT Rive Gauche label gained popularity among younger women, reflecting a shift towards empowerment and confidence.
Photographer Helmut Newton played a pivotal role in cementing Le Smoking's iconic status. His 1975 photograph for French Vogue depicted an androgynous woman in Le Smoking, standing in a dimly lit Parisian alleyway—a powerful image that captured the suit's essence of power, sexuality, and defiance of traditional gender roles. Over the years, Le Smoking has been embraced by numerous influential women, including Catherine Deneuve, Bianca Jagger, and Lauren Bacall, each adding their own interpretation to its legacy. The suit has transcended fashion to become a cultural phenomenon, symbolising confidence and female empowerment.
This historical trajectory connects directly to Jarunee Suksawat’s fashion moment at the 1980 awards. Her tuxedo, with its shimmering fabric and shawl lapel, is an embodiment of Le Smoking’s continuing influence into the late 1970s and early 1980s. By this time, it was common to see women embracing this style as a powerful fashion statement. While maintaining the sleek, structured elegance of the original, Jarunee’s look also reflects the glitzy, glamorous edge that defined the late 70s and early 80s.
To better appreciate the full design, I have enhanced the original magazine cover image, extending it from a medium shot to a full-length photo. This allows us to see the complete silhouette and styling, highlighting how Le Smoking was not just a trend but a revolutionary shift in women’s fashion history.
#aifashionlab #AI #aiartist #aiart #aifashion #aifashiondesign #aifashionstyling #aifashiondesigner #fashion #fashionhistory #historyoffashion #fashionstyling #fashionphotography #digitalfashion #digitalfashiondesign #digitalcostumedesign #digitaldesign #digitalaiart #ThaiFashionHistory #ThaiFashionAI #flux #fluxlora





















