การทดลองการใช้ AI ในการอนุรักษ์ผ้าซิ่นตีนจกแม่แจ่ม เชียงใหม่

การทดลองการใช้ AI ในการอนุรักษ์ผ้าซิ่นตีนจกแม่แจ่ม เชียงใหม่

ผ้าซิ่นตีนจกแม่แจ่มเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของชาวแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในด้านลวดลายที่วิจิตรบรรจงและกรรมวิธีการทอที่ละเอียดอ่อน ปัจจุบัน แม้การสืบทอดภูมิปัญญานี้ยังคงดำเนินอยู่ แต่ก็มีความท้าทายในด้านการอนุรักษ์ลวดลายเก่าแก่และการพัฒนารูปแบบใหม่ให้เหมาะสมกับยุคสมัย เทคโนโลยี AI จึงกลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่สามารถช่วยรักษาและต่อยอดศิลปะหัตถกรรมผ้าซิ่นตีนจกได้

AI กับการสร้างสรรค์และอนุรักษ์ลวดลายผ้าซิ่นตีนจก

โครงการนี้คือการทดลองใช้ AI โดยการฝึกโมเดล Flux LoRA ในการสร้างภาพสะท้อนชีวิตและบุคคลที่สวมใส่ผ้าซิ่นตีนจกแม่แจ่ม โดยเฉพาะหญิงสูงวัยที่มักสวมใส่ในโอกาสสำคัญ เช่น วันเข้าพรรษา หรือเทศกาลจุลกฐิน เป็นแนวทางหนึ่งในการอนุรักษ์และเผยแพร่ความงดงามของผ้าซิ่นให้คงอยู่ต่อไป

แม้ว่า AI ยังเผชิญกับความท้าทายในการสร้างลวดลายตีนจกที่มีรายละเอียดซับซ้อน แต่กระบวนการนี้สามารถช่วยบันทึกและสร้างรูปแบบใหม่ ตลอดจนอนุรักษ์ลวดลายดั้งเดิมเพื่อใช้ในการศึกษาและวิจัย หากมีการฝึก AI ด้วยชุดข้อมูลที่ถูกต้องและแม่นยำ ก็อาจช่วยให้ AI สามารถสร้างลวดลายผ้าซิ่นที่มีความถูกต้องตามแบบแผนดั้งเดิมได้มากขึ้น โครงการนี้จึงเป็นการทดลองแนวทางหนึ่งในการนำ AI มาใช้ในงานอนุรักษ์วัฒนธรรม ซึ่งหากได้รับการสนับสนุนอย่างเหมาะสม อาจกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการฟื้นฟูและสืบทอดลวดลายผ้าซิ่นที่งดงามนี้ไปสู่อนาคต และเก็บรักษาลวดลาย หรือแม้แต่ผลิตลวดลายใหม่ๆ ได้

ประวัติและความสำคัญของผ้าซิ่นตีนจกแม่แจ่ม

ผ้าซิ่นตีนจกเป็นศิลปหัตถกรรมที่อยู่คู่กับชาวแม่แจ่มมาอย่างยาวนาน ถือเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ตั้งแต่การเกิดจนถึงช่วงบั้นปลายชีวิต ผ้าทอของแม่แจ่มมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งแตกต่างจากผ้าซิ่นตีนจกจากแหล่งอื่น ๆ ทั้งในด้านลวดลายและกรรมวิธีการทอที่สามารถใช้ได้ทั้งสองด้าน ปัจจุบัน ผ้าซิ่นตีนจกแม่แจ่มมีลวดลายที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) จำนวน 16 ลาย และมีลายอื่น ๆ ที่ได้รับการสืบทอดและพัฒนาเพิ่มขึ้นถึงกว่า 100 ลาย

ต้นกำเนิดของผ้าซิ่นตีนจกแม่แจ่ม

ต้นกำเนิดของภูมิปัญญาล้ำค่านี้ มีการสันนิษฐานว่าผ้าซิ่นตีนจกของแม่แจ่มมีจุดกำเนิดมาจากการสืบทอดฝีมือจากเชื้อสายพญาเขื่อนแก้ว ผู้ปกครองเมืองเชียงราย ในยุคสมัยพระเจ้ากาวิละ ที่มีการอพยพผู้คน เกิดการกวาดต้อนผู้คนจากเมืองเชียงแสน ซึ่งมีฝีมือด้านการทอผ้าซิ่นตีนจก เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่บริเวณอำเภอแม่แจ่ม ย้อนความไปกว่าสองร้อยปี ในแต่ละปีท้าวพญาเชียงแสนจะต้องส่งส่วยเครื่องบรรณาการให้กับเจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่ ของที่ส่งก็จะประกอบไปด้วยข้าว ไม้สัก รวมถึงผ้าซิ่นตีนจกด้วย ต่อมาเจ้าเมืองเชียงใหม่ได้ส่งวัสดุมีค่า ประเภทดิ้นเงิน ดิ้นทอง ผสมไหม มาให้ชาวเชียงแสนได้ทอผ้าซิ่นเพื่อส่งให้เจ้านายฝ่ายใน กระทั่งเมื่อมีการย้ายชาวเชียงแสนมาอยู่ที่อำเภอแม่แจ่ม สตรีชาวไทยวนจากเชียงแสนก็ยังคงทอผ้าซิ่นตีนจกเพื่อส่งให้กับเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ด้วยฝีมืออันประณีต ทำให้ราชสำนักเชียงใหม่มีการส่งดิ้นเงิน ดิ้นทอง มายังแม่แจ่ม เพื่อให้สตรีได้มีการทอผ้าอย่างต่อเนื่อง

ผ้าซิ่นตีนจกถือเป็นสมบัติล้ำค่า และเป็นสิ่งบ่งชี้ฐานะทางสังคม เพราะมีการออกกฎห้ามชาวบ้านสวมซิ่นที่ทอด้วยดิ้นเงิน ดิ้นทอง หรือไหมที่มีราคาแพง ผู้ที่อยู่ชนชั้นสูงจะห่มสไบ นุ่งผ้าซิ่นตีนจก ส่วนคนมีฐานะรองลงมา จะนุ่งผ้าซิ่นพื้นเมือง ทำให้ผ้าซิ่นตีนจกมีการทอด้วยวัสดุที่ต่างกัน

ลวดลายผ้าซิ่นตีนจกแม่แจ่ม

ผ้าซิ่นตีนจกแม่แจ่ม มีลักษณะเด่นในการสร้างผลงานของช่างผู้ทอ มีการประยุกต์ในรูปแบบต่าง ๆ แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ละทิ้งลวดลายดั้งเดิม ที่ส่งต่อกันมาตั้งแต่โบราณกาล ซึ่งลวดลายของผ้าซิ่นตีนจกนั้น มีการแบ่งหมวดหมู่ลักษณะ จะมีลวดลายอุดมคติ ซึ่งเป็นลวดลายที่สะท้อนความเชื่อในศาสนา ออกมาเป็นรูปสัญลักษณ์อันเกี่ยวเนื่องกับศาสนา สามารถพบลวดลายลักษณะนี้ได้ในผ้าซิ่นตีนจกเป็นส่วนใหญ่ สัญลักษณ์ที่ว่าก็คือ รูปโคม ขัน น้ำต้น นาค หงส์สะเปา ขันดอก รูปหงส์ หรือลายนาค ที่ประกอบขึ้นเป็นผ้าซิ่นตีนจก ลวดลายคน และสัตว์ สัญลักษณ์ที่พบในผ้าซิ่นตีนจก คือ รูปม้า ช้าง ไก่ ลา ปู กบ ลายเขี้ยวหมา ลายงูเตวตาง ลายฟันปลา และลายคน ลวดลายพรรณพฤกษา จะพบในหน้าหมอนเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ ลายดอกจันทร์ กุดผักแว่น และลวดลายเปรียบเทียบสิ่งของใกล้ตัว อย่างเช่น ลายกุดตาแสง กุดพ่อเฮือนเมา กุดกระแจ กุดขอเบ็ด กุดสามเสา เป็นต้น

ลวดลายผ้าซิ่นตีนจกแม่แจ่ม

ผ้าซิ่นตีนจกของแม่แจ่มมีลวดหลายหลักอยู่ 16 ลาย แบ่งเป็นลายแม่แจ่มโบราณ มี 11 ลาย ได้แก่:

  1. ลายหละกอนหลวง

  2. ลายเจียงแสนน้อย

  3. ลายขันเสี้ยนสำ

  4. ลายหงส์บี้

  5. ลายหงส์ปล่อย

  6. ลายโกมฮูปนก

  7. ลายโกมหัวหมอน

  8. ลายขันสามเอว

  9. ลายขันเอวอู

  10. ลายกุดขอเบ็ด

  11. ลายนกกุม

และลวดลายใหม่ที่เป็นที่นิยมอีก 5 ลาย ได้แก่:

  1. ลายหละกอนหน้อย

  2. ลายหละกอนก๋าง

  3. ลายเจียงแสนหลวง

  4. ลายนาคกูม

  5. ลายนกนอน

โดยทั้งหมดนี้ ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications: GI)

การทอผ้าซิ่นตีนจกของชุมชนแม่แจ่ม

การทอผ้าซิ่นตีนจกของชุมชนแม่แจ่มเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันในครอบครัว ผู้หญิงทุกคนจะเรียนรู้การทอผ้าตั้งแต่ยังเด็ก เพื่อทอผ้าสำหรับตนเองและครอบครัว โดยทอผ้าหลายรูปแบบ เช่น ซิ่นหอมอ้วน ซิ่นตาล่อง และผ้าซิ่นตีนจก ซึ่งถือเป็นงานหัตถกรรมที่มีความประณีต สวยงาม และเป็นเอกลักษณ์ของแม่แจ่ม

ผ้าซิ่นตีนจกแม่แจ่มมีต้นกำเนิดจากยุคที่พุทธศาสนาในล้านนาเจริญรุ่งเรือง ลวดลายของผ้าซิ่นแสดงถึงความเชื่อทางศาสนา เช่น โคม ขัน นาค และสัตว์หิมพานต์ สีแดงที่เชิงซิ่นหมายถึงสวรรค์และจักรวาล เป็นการแสดงความเคารพและพุทธบูชา ผ้าซิ่นตีนจกยังถือเป็นสิ่งที่สตรีแม่แจ่มเก็บรักษาไว้ใช้ในยามสุดท้าย เพื่อไปไหว้พระธาตุเกศแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์.

An Experiment in Using AI for the Conservation of Mae Jam’s Sin Tin Jok from Chiang Mai

Phasin Teen Jok (Tubular Skirt with Discontinuous Hem Border) Mae Jam (ผ้าซิ่นตีนจกแม่แจ่ม) is a valuable cultural heritage of the people of Mae Jam (แม่แจ่ม), Chiang Mai (เชียงใหม่), which is known for its intricate patterns and delicate weaving techniques. Although the transmission of this traditional knowledge continues today, there are challenges in preserving ancient patterns and developing new designs that are suitable for modern times. AI technology has therefore become an important tool in helping to preserve and expand the art of Phasin Teen Jok.

AI in Creating and Preserving Phasin Teen Jok Patterns

A project that explores and experiments with using AI to create images reflecting the lives and individuals who wear Phasin Teen Jok from Mae Jam, especially elderly women who often wear it during significant events such as Buddhist Lent (วันเข้าพรรษา) or the Chulakathin Festival (เทศกาลจุลกฐิน), is one of the ways to preserve and promote the beauty of Phasin Teen Jok for future generations.

Although AI still faces challenges in creating the intricate Teen Jok patterns, this process helps document and create new designs while preserving the traditional patterns for study and research. If AI is trained with accurate and reliable datasets, it could potentially create Phasin Teen Jok designs that are more faithful to the original patterns. This project serves as an experimental approach to integrating AI into cultural preservation work. With appropriate support, AI could become an essential tool in revitalizing and passing on these beautiful patterns of Phasin Teen Jok into the future, even enabling the creation of new designs.

History and Importance of Phasin Teen Jok Mae Jam

Phasin Teen Jok (ผ้าซิ่นตีนจก) is a handicraft that has been an integral part of the people of Mae Jam for a long time. It is a part of their way of life and culture, from birth to the later stages of life. The woven fabrics from Mae Jam have a unique quality that distinguishes them from other Teen Jok fabrics in terms of patterns and the weaving techniques, which allow them to be used on both sides. Currently, Phasin Teen Jok Mae Jam has 16 registered patterns as Geographical Indications (GI) and more than 100 other patterns that have been passed down and developed over time.

Origins of Phasin Teen Jok Mae Jam

The origins of this valuable craft are believed to have originated from the skill passed down from Phaya Khueang Kaew (พญาเขื่อนแก้ว), the ruler of Chiang Rai (เชียงราย) during the reign of King Kawila (พระเจ้ากาวิละ), who led the migration of people from Chiang Saen (เชียงแสน). These people, who were skilled in weaving Phasin Teen Jok, settled in Mae Jam. More than 200 years ago, every year, Phaya Chiang Saen (ท้าวพญาเชียงแสน) would send tribute to the ruler of Chiang Mai, which included rice, teak wood, and Phasin Teen Jok fabrics. Later, the ruler of Chiang Mai sent valuable materials such as silver and gold threads, and silk for the people of Chiang Saen to weave fabrics to send to the royal court. When the people of Chiang Saen moved to Mae Jam, women from Chiang Saen continued to weave Phasin Teen Jok to send to the rulers of Chiang Mai, using exquisite craftsmanship, leading the royal court of Chiang Mai to send silver, gold threads, and materials to Mae Jam so the women could continue weaving.

Phasin Teen Jok was considered a precious item and a symbol of social status, as there was a rule prohibiting commoners from wearing Teen Jok woven with silver, gold, or expensive silk. The elite would wear the Phasin Teen Jok with a sabai (สไบ), while those of lower status would wear local Phasin fabrics. This distinction made the Phasin Teen Jok woven with different materials based on social standing.

Patterns of Phasin Teen Jok Mae Jam

The Phasin Teen Jok Mae Jam is distinguished by the work of the weavers, who adapt it in various forms while still preserving traditional patterns passed down from ancient times. The patterns of Phasin Teen Jok are categorized into different types, including those that reflect religious beliefs, which are seen as symbols related to religion. These can be commonly found in most Phasin Teen Jok fabrics. Some of these symbols include the lantern (โคม), the alms bowl (ขันน้ำต้น), the Naga (นาค), the phoenix (หงส์สะเปา), the alms bowl flower (ขันดอก), and the Naga pattern (ลายนาค).

Animal and human patterns are also common, including designs of horses (ม้า), elephants (ช้าง), chickens (ไก่), pigs (ลา), crabs (ปู), frogs (กบ), dog teeth (ลายเขี้ยวหมา), and others such as snake, fishbone, and people patterns. Patterns of flora, such as the moonflower (ลายดอกจันทร์), the water plant (กุดผักแว่น), and those symbolizing everyday objects such as hooks or fishing gear, can also be found.

Traditional Patterns of Phasin Teen Jok Mae Jam

Phasin Teen Jok Mae Jam has 16 main patterns, divided into 11 ancient patterns:

  1. Lai Lakhon Luang (ลายหละกอนหลวง)

  2. Lai Chiang Saen Noi (ลายเจียงแสนน้อย)

  3. Lai Khan Siang Sam (ลายขันเสี้ยนสำ)

  4. Lai Hong Bhi (ลายหงส์บี้)

  5. Lai Hong Phloi (ลายหงส์ปล่อย)

  6. Lai Kom Hoop Nok (ลายโกมฮูปนก)

  7. Lai Kom Hua Morn (ลายโกมหัวหมอน)

  8. Lai Khan Sam Ao (ลายขันสามเอว)

  9. Lai Khan Ao Oo (ลายขันเอวอู)

  10. Lai Kud Kho Bet (ลายกุดขอเบ็ด)

  11. Lai Nok Kum (ลายนกกุม)

Additionally, there are 5 newer popular patterns:

  1. Lai Lakhon Noi (ลายหละกอนหน้อย)

  2. Lai Lakhon Kang (ลายหละกอนก๋าง)

  3. Lai Chiang Saen Luang (ลายเจียงแสนหลวง)

  4. Lai Naga Kum (ลายนาคกูม)

  5. Lai Nok Non (ลายนกนอน)

All of these patterns have been registered as Geographical Indications (GI).

Weaving Phasin Teen Jok in the Mae Jam Community

The weaving of Phasin Teen Jok in the Mae Jam (แม่แจ่ม) community is a traditional knowledge passed down within families. Every woman learns to weave from a young age in order to create fabrics for themselves and their families. The weaving includes various styles, such as Sin Hom Ouan (ซิ่นหอมอ้วน), Sin Tan Long (ซิ่นตาล่อง), and Phasin Teen Jok (ผ้าซิ่นตีนจก), which are considered fine craftsmanship, beautiful, and a unique characteristic of Mae Jam.

Phasin Teen Jok Mae Jam originated during the period when Buddhism in Lanna (ล้านนา) flourished. The patterns on the fabric reflect religious beliefs, such as lanterns (โคม), alms bowls (ขัน), Naga (นาค), and mythical creatures of Himmapan (สัตว์หิมพานต์). The red colour at the edge of the fabric symbolises heaven and the universe, serving as a sign of respect and Buddhist worship. Phasin Teen Jok is also regarded as an item that women in Mae Jam keep for their final moments, to use when paying respects at the Phra That Kaew Chulamanee (พระธาตุเกศแก้วจุฬามณี) on the heavenly mount.

#aifashionlab #AI #aiartist #aiart #aifashion #aifashiondesign #aifashionstyling #aifashiondesigner #fashion #fashionhistory #historyoffashion #fashionstyling #fashionphotography #digitalfashion #digitalfashiondesign #digitalcostumedesign #digitaldesign #digitalaiart #ThaiFashionHistory #ThaiFashionAI #flux #fluxlora

Previous
Previous

อมรา อัศวนนท์ กับกางเกงคาปรี: แฟชั่นยุโรปบนแผ่นฟิล์มไทย

Next
Next

ฟ้อนเล็บ: ความอ่อนช้อยแห่งล้านนา